การยื่นเอกสารเพิ่มเติม หรือแก้ไขคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก

เขียนโดย Annrora ที่ 23:19
ประกาศกรมศุลากกรที่ 75/2528
เรื่อง การยื่นเอกสารเพิ่มเติม หรือแก้ไขคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก

เพื่อให้พิจารณาคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกเป็นไปโดยรวดเร็ว อธิบดีกรมศุลกากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 ประกอบกับมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 จึงประกาศระเบียบปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้
  1. ผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยจะต้องมีเอกสารและสำแดงรายการประกอบชุดคำขอรับเงินชดเชยให้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด
  2. เมื่อได้รับแจ้งจากกองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือให้ดำเนินการแก้ไขคำขอรับเงินชดเชย ผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยจะต้องดำเนินการตามที่ได้รับแจ้งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากมีเหตุขัดข้องให้ผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยแจ้งเหตุข้อขัดข้องเป็นหนังสือให้กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกทราบภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
  3. หากผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับแจ้ง และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกทราบภายในกำหนดเวลาตามข้อ 2 หรือได้แจ้งเหตุขัดข้องแต่กองคืนอากรส่งเสริมการส่งออกพิจารณาแล้ว เห็นว่าเหตุขัดข้องดังกล่าวไม่เป็นเหตุอันสมควรก็ให้ยกคำขอรับเงินชดเชยที่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ดำเนินการนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควร
  4. เมื่อผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยได้รับแจ้งคำขอรับเงินชดเชยตามข้อ 3 แล้วให้มารับเอกสารชุดคำร้องขอรับเงินชดเชยที่ถูกยกนั้นคืนไป และต้องยื่นคำขอรับเงินชดเชยอากรใหม่ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ส่งสินค้าออก
  5. ในกรณีผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยไม่ดำเนินการตามที่รับแจ้งภายในกำหนดตามเวลาตามข้อ 2 และเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันส่งสินค้าออก กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกจะแจ้งให้ผู้มีสิทธิขอรับเงินชดเชยมาดำเนินการตามข้อ 2 อีกครั้งหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากยังมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกยกคำขอรับเงินชดเชยชุดนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควร  และให้ถืองว่าเป็นอันหมดสิทธิขอรับเงินชดเชยสำหรับคำขอที่ถูกยกนั้นตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการยกคำขอรับเงินชดเชยจากกองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมายศุลกากร

เขียนโดย Annrora ที่ 01:00

  1. การวางประกันค่าภาษีอากร 
    การขอวางเงินเป็นประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดและจะกระทำได้ในกรณีต่อไปนี้

    1.1 มีปัญหาค่าภาษีอากร : ปัญหาค่าภาษีอาจเกิดขึ้นได้เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพของราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งกฏหมายให้ถือตามที่เป็นอยู่ในเวลานำของออก หรือเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้

    1.2 กรณีขอรับของไปก่อนยื่นใบขนสินค้า : ในกรณีที่มีการร้องขอ และอธิบดีเห็นว่า ของใดมีความจำเป็นที่จะต้องนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน อธิบดีมีอำนาจให้นำของนั้นไปจากอารักขาของศุลกากรได้โดยยังไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งก่อนแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดและในกรณีที่อาจต้องเสียภาษีอากรให้วางเงินหรือหลักประกันอย่างอื่นเป็นที่พอใจอธิบดีเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรด้วย

    1.3 กรณีวางเงินประกันสำหรับของที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุเพื่อส่งออก
  2. เงินเพิ่มและดอกเพิ่มผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกจะต้องชำระเงินอากรตามจำนวนที่ได้รับแจ้งให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาดังกล่าวหรือมิได้ปฏิบัติตามระบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้ปฏิบัติในกรณีรับรองไปก่อนยื่นใบขน ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งออกอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินร้ยอละ 20 ของจำนวนค่าอากรที่จะต้องเสียหรือเสียเพิ่มก็ได้
    *การชำระค่าอากรที่จะต้องเสีย หรือเสียเพิ่มให้เรียกเงินเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ
  3. การคืนค่าภาษีอากรการคืนค่าภาษีอากรที่ได้ชำระไว้แล้วมีหลายกรณีดังต่อไปนี้

    3.1 กรณีที่เสียภาษีไว้แล้วของสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
     อธิบดีอาจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียไว้แล้วสำหรับของนั้นก็ได้

    3.2 กรณีคำนวณจำนวนเงินอากรผิด
    ในกรณีที่เห็นสมควร อธิบดีมีอำนาจคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินเฉพาะในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิด

    3.3 กรณีเกิดจากใช้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับของคลาดเคลื่อน
    เช่น ชนิดของ คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก ราคา และพิกัดอัตราอากร หากไม่ถูกต้องและเป็นเหตุให้เสียอากรต่ำกว่าที่พึงต้องเสียจริง แต่คำเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใดๆหรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆนั้น มิให้รับพิจารณาหลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้นๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบหรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว

    3.4 กรณีที่ไม่มีความรับผิดชอบในการเสียภาษีเกิดขึ้น
    ผู้เสียภาษีได้ชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว โดยยื่นเอกสารผ่านพิธีการศุลกากร แต่ปรากฏในภายหลังว่าของไม่ได้นำเข้ามาหรือส่งออกไป ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไว้
  4. การเก็บค่าภาษีที่ชำระขาด ถ้าภาษีที่เสียไว้ไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่จะต้องเสียจริง กรมศุลกากรมีสิทธิเรียกส่วนที่ขาดจนครบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากรสิทธิของกรมศุลกากรที่จะต้องเรียกเก็บอากรที่ขาด เพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใดๆหรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใดๆนั้นให้มีอายุครบ 10 ปี แต่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิด ให้มีอายุความ 2 ปี ทั้งนี้นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก
  5. การอุทธรณ์การประเมินค่าภาษีอากร
    ในกรณีที่เจ้าหน้าทีประเมินอากรและได้แจ้งในผู้นำเข้าทราบแล้ว หากผู้นำเข้าประสงค์จะโต้แย้งกาประเมินของเจ้าหน้าที่ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่ออธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
  6. การขอเปิดตรวจของเพื่อจัดทำใบขนสินค้า ( Bill of Sight )ผู้นำของใดๆเข้ามา ไม่สามารถทำใบขนสินค้าสำหรับของนั้นๆได้ เพราะยังไม่ทราบรายการสมบูรณ์ จะยื่น "ใบขอเปิดตรวจ"  ตามที่อธิบดีต้องการได้
    * ใบขอเปิดตรวจนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรองแล้ว ก็ให้เป็นใบอนุญาตให้ผู้นำของเข้าตรวจของนั้นได้ และให้ผู้นำเข้าตรวจของนั้นต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับรองใบขอตรวจ + ทำใบขนสินค้ายื่นโดยพลัน
  7. ของตกค้าง ถ้าของใดอยู่ในอารักขาศุลกากรถึง 2 เดือน โดยไม่มีใบขนสินค้าอันใดรับรอง และไม่ได้เสียอากรและค่าประกันอากร เมื่ออธิบดีได้ให้คำบอกกล่าวไปยังตัวแทนของเรือที่นำของเข้ามานั้น 15 วันแล้ว ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำลายหรือนำของนั้นออกขายทอดตลาด หรือให้ตัวแทนเรือนั้น ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร
  8. ภาระค่าภาษีเกิดขึ้นเมื่อใดความรับผิด ในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ การคำนวณค่าภาษีให้ถือตามสภาพของ ราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น
    *แต่ในกรณีที่ของเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้คำนวณตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ใช้อยู่ในเวลานั้น ซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน








ประเภทใบขนสินค้า

เขียนโดย Annrora ที่ 00:44
ใบขนสินค้า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ :

  1. ใบขนสินค้าธรรมดา
    คือ ใบขนสินค้าเข้าทั่วๆไป มีอักษรนำหน้าเลขที่ใบขนสินค้า " A " หรือ " B "
  2. ใบขนสินค้าล่วงหน้า
    รับใบขนสินค้าล่วงหน้าได้ ( ไม่ว่าผู้นำเข้าจะยื่นก่อนวันเรือเข้าเมื่อใด ) ต้องมีใบตราส่งสินค้า (B/L) แนบมาด้วย
    โดยให้ผู้นำเข้าเขียนตัวอักษร/ประทับตรา/ คำว่า "ล่วงหน้า" ไว้ตอนบนของใบขนสินค้าต้นฉบับ
    เมื่อใบขนสินค้าได้ผ่านพิธีการถูกต้องแล้ว การชำระอากรตามใบขนสินค้าล่วงหน้าจะกระทำได้หลังจากที่เรือนำของเข้าตามใบขนสินค้านั้นเข้ามาถึงแล้วเท่านั้น
  3. ใบขนสินค้าชั่วคราว ( Provisional Entry )
    คือ ใบขนสินค้าสำหรับของต้องอากรตามราคา ซึ่งผู้นำเข้ายังมิได้รับบัญชีราคาสินค้า แต่ประสงค์จะขอรับของไปก่อน
    ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตจากกองพิธีการและประเมินอากร เพื่ออนุมัติเสียก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงยื่นใบขนชั่วคราวและกรมศุลกากรจะเรียกเงินประกันไว้ให้คุ้มค่าอากร
    ผู้นำเข้าต้องสำแดงใบขนสินค้า โดยเขียนไว้เบื้องบนใบขนสินค้าว่า "ใบขนชั่วคราว"
    การสำแดงในช่องต่างๆตามใบขนสินค้า ต้องสำแดงให้ครบถ้วน โดยอาศัยหลักฐาน B/L และเอกสารอื่นๆประกอบ เช่น Order / Proforma Invoice และเขียนรับรองในตอนท้ายใบขนว่า ...
    " ข้าพเจ้า (บริษัท) ขอรับรองว่าจะยื่น Invoice และชำระอากรให้เสร็จภายในกำหนด 2 เดือน "
    พร้อมกับแนบคำร้องขอผ่อนผันนำใบขนชั่วคราวยื่นต่อกองพิธีการฯ
  4. ใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ
    เป็นใบขนสินค้าสำหรับ เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่อง อุปกรณ์รถไฟ ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นของใหญ่โตและมีอุปกรณ์มากมายหลายชิ้น ไม่อาจบรรทุกมาในเรือลำเดียวได้ทั้งหมด หรือมีความจำเป็นต้องสั่งซื้อหรือส่งมาจากที่หลายแห่ง จึงจำเป็นต้องแยกส่งมาหลายเที่ยวเรือ
       จะต้องเป็นของนำเข้ามาเพื่อประกอบเป็นของครบชุดสมบูรณ์ โดยมีเอกสารการซื้อขายที่แสดงว่าเป็นการสั่งซื้อของครบชุดสมบูรณ์ เช่น มีบัญชีรายละเอียดของของบครบสมบูรณ์ / Catalog / หรือแบบพิมพ์เขียว ( Blue Print )
  5. ใบขนเพิ่มเติม ( Post Entry )
    คือ ใบขนที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในอันจะชำระเงินอากรเพิ่มขึ้นอีกจากที่ได้ชำระไว้แล้วตามใบขนส่งฉบับเดิม ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
    - ประเมินอากรขาดตกไปโดยเหตุใดๆ แต่ได้สำแดงรายการถูกต้องครบถ้วนแล้ว
    - สำแดงรายการ สิ่งของในหีบห่อใดๆไม่ครบถ้วน
    - สำแดงอัตราอากร อัตรากำไรมาตรฐาน อัตราภาษีการค้าผิด อันเป็นเหตุให้ภาษีอากรขาด
    * เขียนไว้เบื้องบนใบขนสินค้าว่า " ใบขนสินค้าเพิ่มเติม " หรือ " Post Entry "

พิธีการศุลกากรสำหรับของนำเข้าหรือของส่งออกทางไปรษณีย์

เขียนโดย Annrora ที่ 02:28
     ด่านศุลกากรไปรษณีย์ ( ณ กรุงเทพ ) มีที่ทำการอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง แบ่งหน่วยงานออกเป็น
  1. งานธุรการ
  2. ฝ่ายตรวจคัดเลือกไปรษณีย์
  3. ฝ่ายเก็บรักษาไปรษณีย์ภัณฑ์
  4. ฝ่ายพิธีการ
  5. ฝ่ายตรวจปล่อยไปรษณีย์
     กรมศุลกากรต้องทำความตกลงกับกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อกำหนดที่ทำการไปรษณีย์บางแห่งให้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เพื่อแลกเปลี่ยนถุงไปรษณีย์ภัณฑ์และเรียกเก็บภาษีอากรจากผู้รับแทนศุลกากรในบางกรณี โดยได้จัดเจ้าหน้าที่จากด่านศุลกากรที่เกี่ยวข้องไปประจำการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
  1. ด่านศุลกากรไปรษณีย์ ประจำที่ทำการไปรษณีย์กลาง 
  2. ด่านศุลกากรสงขลา ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสงขลาและหาดใหญ่
  3. ด่านศุลกากรภูเก็ต ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต
  4. ด่านศุลกากรหนองคาย ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองคาย
  5. ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ประจำที่ทำการไปรษณีย์สุไหงโก-ลก
พิธีการศุลกากรขาออกทางไปรษณีย์
     พนักงานศุลกากรจะนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อร่วมกันทำการเปิดถุงไปรษณีย์ต่างประเทศทุกชนิด เมื่อลงบัญชีกำกับเรียบร้อยแล้ว จะต้องแยกถุงไปรษณีย์ออกเป็น 3 ประเภม ดังนี้...
  • ประเภทที่ 1 : ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่ไม่ต้องเสียอากร 
         เช่น เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งเจ้าของได้เดินทางมาแล้วหรือเป็นของที่มีราคาแต่ละหีบห่อไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งจดหมายและไปรษณีย์บัตรเมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ลงบัญชีเป็นหลักฐานไว้เรียบร้อยแล้วจะมอบคืนให้เจ้าพนักงานไปรษณีย์รับไปจ่ายได้ทันที
  • ประเภทที่ 2 : ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่ไม่ต้องเสียอากรและราคาไม่เกิน 10,000 บาท ที่ไม่จัดเป็นสินค้าก็ดีหรือที่จัดเป็นสินค้าแต่ราคาไม่เกิน 500 บาท
         ศุลกากรถือว่าเป็นของเล็กน้อย อาจประเมินอากรจากใบปริญญาได้โดยไม่ต้องเปิดตรวจ หรือจะเปิดตรวจประเมินอากรก็ได้แล้วแต่เห็นสมควร เจ้าหน้าที่จะบันทึกรายการสิ่งของ จำนวนเงินอากรและค่าเก็บรักษา (ถ้าต้องเสีย)ลงไว้ในช่องรายการตรวจและประเมินอากรในใบแจ้งความพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของกรมไปรษณีย์ชุดละ 3 ฉบับ (ทางศุลกากรจะยึดฉบับที่ 2 ไว้ ส่วนฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นต้นฉบับกับสำเนาฉบับที่ 3 จะมอบให้เจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขพร้อมหีบห่อของเพื่อจัดส่งไปยังผู้รับปลายทางและเรียกเก็บภาษีอากรแทนศุลกากรด้วย ของประเภทนี้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า แต่อนุโลมเป็นการจัดเก็บอากรปากระวางตามใบเสร็จแจ้งความ ผู้รับอาจโต้แย้งราคาประเมินของศุลกากรได้ โดยทำเรื่องราวยื่นต่อพนักงานไปรษณีย์เพื่อส่งต่อไปให้พนักงานศุลกากรผู้ประเมินพิจารณา หรือถ้าไม่ประสงค์จะรับก็ให้บันทึกและลงชื่อเป็นหลักฐานบนหีบห่อหรือซอง เพื่อจะได้ส่งคืนต้นทางต่อไป
  • ประเภทที่ 3 : ไปรษณีย์ภัณฑ์ที่จัดเป็นสินค้า ราคาเกินกว่า 10,000 บาท หรือเป็นของที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อจำกัดของกฏหมาย
         
    จะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าเดียวกับการนำเข้าทางเรือ
         ในกรณีที่ผู้รับอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งไม่สะดวกต่อการจัดทำใบขนสินค้า ด่านศุลกากรไปรษณีย์จะทำหนังสือแจ้งไปยังผู้รับว่าจะมารับได้เอง หรือมอบฉันทะให้ผู้ใดดำเนินการ หรือให้ส่งไปยังด่านศุลกากรใดที่ใกล้ที่สุด ในกรณีที่ผู้รับขอให้ส่งไปทำการตรวจปล่อยที่ด่านศุลกากรใด ด่านศุลกากรไปรษณีย์จะปิดกระดาษป้ายสีขาว แบบที่ 21 ความว่า "กองต้องเสียภาษีส่งด่านศุลกากร" ไว้ที่หีบห่อ และทำบัญชีส่งมอบให้เจ้าพนักงานไปรษณีย์รับส่งในด่านศุลกากรต่อไป
* พนักงานเจ้าหน้าที่อาจตรวจห่อพัสดุไปรษณีย์ที่เข้ามาหรือออกไปจากพระราชอาณาจักรได้ และถ้ามีความสงสัยอาจกักห่อจดหมายใดๆไว้ ณ ศุลกสถานได้ จนกว่าผู้ส่งหรือผู้มีชื่อจะรับ จะได้กระทำให้เป็นที่พอใจว่า ไม่มีของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามในห่อนั้น การที่ศุลกากรจะตรวจห่อไปรษณีย์นั้นจะกระทำ ณ ที่ทำการไปรษณีย์หรือที่ศุลกสถานก็ได้

ความรับผิดชอบและโทษเกี่ยวกับของที่นำเข้าหรือที่ส่งออกทางไปรษณีย์
     ตกอยู่แก่บุคคล 4 ประเภทด้วยกัน คือ
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับของนำเข้าได้แก่
    1. ผู้มีชื่อที่จะรับของอันนำเข้ามา และ
    2. ผู้รับของ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออก ได้แก่
     3. ผู้ส่งของอันจะส่งออกไป และ
     4. ผู้นำของส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์
บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่จะได้ร่วมมือด้วยประการต่างๆกับบุคคลดังกล่าวมาแล้ว

ของตกค้างให้ส่งกลับไปยังต้นทาง
     ไปรษณีย์ภัณฑ์ ( Postal Package ) และพัสดุไปรษณีย์ ( Parcel Post Package )  ที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรถึง 2 เดือนจนกลายเป็นของตกค้าง ให้ส่งกลับไปยังต้นทาง (ไม่ให้ใช้ ม. 61 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 มาใช้บังคับ ) ศุลกากรยึดได้เฉพาะของอันพึงต้องรับตามกฏหมายศุลกากร และของที่ผู้นำเข้าได้ยื่นใบขอเปิดตรวจเท่านั้น

วันเปิดถุงไปรษณีย์ให้ถือเป็นวันรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี
    ในทางปฏิบัติถือว่าวันเปิดถุงไปรษณีย์เป็นวันรับผิดในอันจะต้องเสียอากรและให้ถือสภาพของราคาของ และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันนั้นเป็นเกินประเมินค่าภาษีอากร เพราะไม่อาจปฏิบัติตาม ม. 10 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรได้จึงเท่ากับเป็นข้อยกเว้นของ ม.10 ทวิ โดยปริยาย มีข้อยุ่งยากเรื่องการถือวันนำเข้า

พิธีการศุลกากรขาเข้าและขาออกทางอากาศยาน

เขียนโดย Annrora ที่ 23:20
     ของที่นำเข้าทางอากาศยานแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ...
  1. ของขวัญ ( Gift )
  2. ของตัวอย่าง ( Sample )
  3. ของเอกสิทธิ์ ( Diplomatic )
  4. ของใช้ส่วนตัว ( Personal Effect )
  5. สินค้า ( Cargo )
พิธีการศุลกากรขาเข้าทางอากาศยาน
     เมื่อผู้นำเข้าได้รับแจ้งจากบริษัทสายการบินว่าสินค้าได้นำเข้ามาแล้วโดยเครื่องบิน เที่ยวที่เท่าใดของบริษัทสายการบินใดแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องไปติดต่อกับสายการบินที่รับบรรทุกนั้น เพื่อขอรับเอกสาร Delivery Order ( D/O ) และเอกสาร Airway Bill เสร็จแล้วจึงจัดเตรียมเอกสารต่างๆเพื่อยื่นขอชำระอากร

เอกสารที่ต้องยื่นต่อศุลกากรเพื่อรับมอบหรือตรวจปล่อยของไปจากอารักขาของศุลกากร ได้แก่ 
  1. ใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการค้าจำนวน 4 ชุด : ต้นฉบับ 1 ชุด สำเนาคู่ฉบับ 3 ชุด 
  2. บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
  3. Airway Bill ( ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ )
  4. Delivery Order ( D/O )
  5. เอกสารอื่นๆ เช่น Packing List , ใบอนุญาตให้นำของเข้า (ถ้ามี)
ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษ 
     ปฏิบัติพิธีการคล้ายกับการเก็บอากรปากระวาง คือ ผู้นำของเข้าจัดทำแบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดยื่นเพียงฉบับเดียวโดยไม่มีสำเนา พร้อมกับใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน ( Airway Bill )และ Custom Permit พนักงานศุลกากรจะควบคุมของมาตรวจและตีราคาให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน แล้วจึงให้ชำระค่าภาษีอากรที่พึงต้องชำระและให้ผู้นำของเข้าลงนามรับของในแบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษโดยไม่ต้องมีใบสั่งปล่อยศุลกากร 
* ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาเข้าพิเศษนอกจากเป็นของที่กำหนดไว้แล้ว ยังเป็นของที่ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ไม่มีลักษณะเป็นสินค้า ได้แก่...
  • หนังสือพิมพ์รายวัน รายปักษ์และภาพข่าว
  • ส่วนประกอบของสิ่งอุปกรณ์อากาศยาน ซึ่งนำเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าหรือเพื่อใช้ซ่อม
  • ของผู้โดยสารซึ่งไม่ได้นำติดตัวเข้ามาพร้อมกับตน ( Unaccompanid Baggage ) ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นสินค้า
  • ของที่่นำเข้ามาแต่ละครั้งมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท (ราคา หมายความว่า ราคาตามกฏหมายศุลกากร )
สำหรับของติดตัวผู้โดยสารเข้ามา
     ของที่ผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามา ถ้าไม่มีลักษณะเป็นสินค้า กล่าวคือ เป็นของใช้ส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ ตามความหมายในประเภทที่ 5 ภาค 4 แห่ง ก.ม. พิกัดฯ ให้จัดเก็บอากรปากระวาง โดยผู้นำเข้า Declare รายละเอียดลงในแบบฟอร์มของติดตัวผู้โดยสารตามแบบที่กรมฯกำหนด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจผู้โดยสารจะดำเนินการประเมินราคาและค่าภาษีอากร แล้วจัดเก็บภาษีอากรเสียเอง โดยออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้นำเข้าไม่ต้องทำใบขนสินค้า

ราคาประเมินสำหรับของนำเข้าทางอากาศยาน
     ราคาประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้าทางอากาศยานให้ใช้ราคา F.O.B. + ค่าประกันภัย + ค่าระวางบรรทุกอากาศยานเป็นราคาพึงประเมิน
     หลักเกณฑ์อื่นๆ ในการประเมินราคา ใช้แนวเดียวกับการประเมินราคาสำหรับของนำเข้าทางเรือ ค่าวินิจฉัยพิธีการที่ 1/2508
  • ถ้าเป็นของที่นำเข้าทางอากาศยาน ให้บวกค่าระวางทางอากาศเข้าไป ก็เห็นได้ชัดว่ามีราคาสูงกว่าปกติเกินสมควร กรณีเช่นนี้ให้ถือเอาราคา C.I.F. แห่งของนั้น หากจะพึงนำเข้าทางเรือเป็นราคาประเมินเพื่อเก็บอากร
  • ในกรณีที่ของนำเข้าทางอากาศ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ของขวัญหรือของตัวอย่าง แต่บริษัทการบินผู้รับบรรทุกมิได้คิดค่าระวางจากผู้นำของเข้า ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามค่าระวางอันพึงต้องเสียแล้วรวมเข้ากับราคาของและค่าประกันภัย
  • กรณีข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้รับตราส่งคิดราคา C.I.F. ทางเรือแก่ของที่บรรทุกอากาศยานเข้ามา ให้หักค่าระวางอันพึงต้องเสียทางเรือออก แล้วบวกค่าระวางอากาศเข้าไปแทน หากไม่อาจทราบค่าระวางบรรทุกเรือที่จะคำนวณหักออกได้ เพื่อความสะดวกให้คำนวณหักออกในอัตรา 10 % ของราคาของสินค้า
พิธีการศุลกากรสำหรับของที่ส่งออกทางอากาศยาน
     ผู้ส่งสินค้าจะต้องยื่นเอกสารต่างๆ เช่น เดียวกับการส่งของออกทางเรือ คือ 
  1. ใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้า 3 ชุด : ต้นฉบับ 1 ชุด + สำเนา 2 ชุด
  2. Invoice
  3. เอกสารอื่นๆ เช่น Packing List, ใบอนุญาตส่งออก (ถ้ามี)
ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาออกพิเศษ
     ของเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสินค้า โดยผู้ส่งออกยื่นแบบสำแดงสินค้าขาออกพิเศษเพียงฉบับเดียว โดยไม่ต้องมีสำเนาแทนการยื่นใบขนสินค้าขาออกตามปกติ *แต่ต้องมี Airway Bill ซึ่งบริษัทการบินออกให้แนบติดมาด้วย
* เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประทับตรากรมศุลกากรคร่อมระหว่างใบตราสินค้าทางอากาศกับแบบสำแดงสินค้าขาออกพิเศษเมื่อผ่านการตรวจ และเสียค่าภาษีอากรแล้ว จะได้รับการมัดลวดตีตราศุลกากรที่หีบห่อ และมอบให้เจ้าหน้าที่บริษัทการบินรับมอบหีบห่อ และแบบสำแดงสินค้าขาออกพิเศษไปบรรทุกอากาศยานต่อไป

ของที่ให้ใช้แบบสำแดงสินค้าขาออกพิเศษ ให้ถือเป็นใบขนสินค้าพิเศษ ใช้สำหรับของยกเว้นอากรที่ส่งออก ดังต่อไปนี้...
  • ของตัวอย่าง ของขวัญ
  • สิ่งตีพิมพ์ เอกสาร หรือรายงานต่างๆ
  • ฟิล์มภาพยนต์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ 
  • Tape Record บันทึกข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
  • ส่วนประกอบและสิ่งอุปกรณ์อากาศยาน
  • หนังสือพิมพ์รายวัน รายคาบ รายปักษ์ และภาพข่าว
  • ของผู้โดยสาร ซึ่งไม่นำออกไปพร้อมกับตน และไม่มีลักษณะเป็นสินค้า ตามข้อแรก - ข้อ 4 และต้องมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท


พิธีการศุลกากรขาออก

เขียนโดย Annrora ที่ 20:05
     พิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศโดยทางเรือ : เมื่อผู้ส่งสินค้าได้ทำการติดต่อกับพ่อค้าผู้รับซื้อสินค้าในต่างประเทศในเรื่องคุณภาพสินค้า ปริมาณ ตลอดทั้งตกลงกันในด้านราคาเรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งสินค้าก็จะติดต่อกับบริษัทตัวแทนเรือ เพื่อขอระวางบรรทุกสินค้า เสร็จแล้วทางบริษัทตัวแทนเรือก็จะออก Shipping Order ให้ เอกสารนี้ผู้ส่งสินค้าจะนำมาประกอบเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรขาออก โดยยื่นใบขนสินค้าออกให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเห็นว่าถูกต้องแล้วจึงนำสินค้าไปบรรทุกในระวางเรือได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เรือรับสินค้าบรรทุกในระวางเรือแล้ว จะยึด Shipping Order ไว้ แล้วออกใบสำคัญ Mate of Receipt กลับมายังบริษัทตัวแทนเรือเพื่อขอใบตราส่ง (B/L) เพื่อส่งไปให้ผู้รับสินค้าในต่างประเทศเป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับของ

Mind Map พิธีการศุลกากรขาออก



เอกสารที่ใช้ในพิธีการส่งออก
     เอกสารต่างๆที่ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกองพิธีและประเมินอากร ได้แก่
  1. ใบขนสินค้าขาออก ( Export Entry ) : ต้นฉบับ 1 ชุด + สำเนา 2 ชุด
  2. บัญชีราคาสินค้า ( Invoice ) : ผ่านการรับรองจากธนาคาร
  3. เอกสารอื่นๆ : Packing List, ใบอนุญาตส่งออกบางชนิด (ถ้ามี)
*Note 
  •      ใบขนสินค้าขาออกเป็นแบบพิมพ์ของกรมศุลกากร แบบที่ 30 : ต้นฉบับพิมพ์ด้วยหมึกสีเขียว คู่ฉบับพิมพ์ด้วยหมึกสีแดง ให้จัดทำใบขนด้วยวิธีอัดสำเนาใบขนสินค้า ด้วยวิธีอัด Copy โดยใช้กระดาษคาร์บอนสอดอัดจากต้นฉบับ
    * ใบขนสินค้าต้องติดแสตมป์ใบละ 1 บาท 
  • สำหรับของนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งได้ส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือส่งไปซ่อมยังต่างประเทศมาแล้ว ตามประเภทที่ 1,2 ภาค 4 แห่ง พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร ต้องทำสำเนาใบขนขาออกเพิ่มอีก 1 ชุด ในขณะที่ส่งออกให้เจ้าหน้าที่ฯรับรองรับเป็นใบสุทธินำกลับ ซึ่งเมื่อตอนนำขนกลับเข้ามา ให้ผู้นำเข้าใบสุทธิมาแสดงเพื่อขอยกเว้นภาษีอากรขาเข้า
    * ราคาของที่ส่งให้ใช้ราคา F.O.B. Bangkok เป็นราคาประเมินอากร

เฉพาะใบขนสินค้าส่งออก ข้าว ยาง และของอื่นๆ ที่มีประกาศราคาเฉลี่ยในท้องตลาด ต้องสำแดง 2 ราคา  คือ...
  1.      ราคา F.O.B. ที่แท้จริง ซึ่งรวมค่าหีบห่อและค่าใช้จ่ายอื่นๆนอกจากค่าภาษีอากร
  2.      ราคาในท้องตลาดเป็นราคาเฉลี่ยตามที่กำหนดในประกาศกรมศุลกากร








     

เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจปล่อยของออกจากอารักขาของศุลกากร

เขียนโดย Annrora ที่ 19:29
     เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาของศุลกากร มีดังนี้...

  1. ใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้า
    จำนวน : ต้นฉบับ 1 ชุด
                   สำเนาคู่ฉบับ 3 ชุด
                   ใบสั่งปล่อย (ตั๋วแดง)
  2. ใบตราส่งฯ (Bill of Lading หรือ B/L)
    จำนวน : สำเนา only
  3. บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
    จำนวน : ต้นฉบับ 1 ชุด
                   สำเนา 4 ชุด
  4. เอกสารอื่นๆ เช่น packing list, ใบอนุญาตนำของเข้า
*Note
สำเนาใบขนสินค้าทุกฉบับและใบสั่งปล่อย ใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาจากต้นฉบับโดยตรง

อธิบาย




ใบขนสินค้าขาเข้า


     พิมพ์ด้วยกระดาษสีขาว ต้นฉบับลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีน้ำเงินอ่อน  สำเนาลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีดำ ใบสั่งปล่อย (ตัวแดง) ลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีแดง

ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ B/L)


     คือ เอกสารที่มีข้อความแสดงว่าเจ้าของเรือ นายเรือ หรือตัวแทนได้รับสินค้าจำนวนหนึ่งจากผู้ส่ง เพื่อบรรทุกไปให้ผู้รับยังท่าเรือแห่งใดแห่งหนึ่ง ใบตราส่งสินค้ามีข้อความแสดงภาพของสินค้า อัตราค่าระวางบรรทุกที่ผู้รับสินค้าจะต้องชำระ พร้อมทั้งลายเซ็นของเจ้าของเรือ นายเรือ หรือตัวแทนและสำเนามอบให้ผู้ส่งสินค้านั้นด้วย ใบตราส่งนี้มีข้อความบรรจุทั้งด้านหน้าและด้านหลัง : ด้านหน้าเป็นรายการเกี่ยวกับสินค้า ด้านหลังเป็นสัญญาว่าด้วยการเดินทาง

รายการที่แจ้งในใบตราส่งสินค้า มีดังนี้

  • Shipper ชื่อผู้ส่ง
  • Consignee ชื่อผู้รับ + Address ที่อยู่ (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงชื่อเรือที่นำเข้าที่แท้จริง ให้ธนาคารผู้เกี่ยวข้องรับรองก่อน)
  • ชื่อเรือนำของเข้า (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงชื่อเรือที่นำเข้า เช่น ในกรณีที่มีการถ่ายลำเรือในต่างประเทศ ให้ตัวแทนเรือที่เกี่ยวข้องสำแดงเพิ่มเติมและรับรองก่อน
  • ท่าที่บรรทุกของ ( Port of บLoading )
  • เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ ( No. and Kind of Packages )
  • วันนำเข้า เรือยังไม่เข้าต้องสำแดงล่วงหน้า 
  • ชนิดของสินค้า ( Description of Goods )
  • เลขที่ใบตราส่ง จะเป็นเลขที่เกี่ยวกับลำดับรายการ ในบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงเลขที่ดังกล่าวในใบตราส่ง เช่น ในกรณีถ่านลำเรือในต่างประเทศ หรือเป็นของ Overloaded ให้ตัวแทนเรือที่เกี่ยวข้องสำแดงเพิ่มเติมและรับรองก่อน)
  • น้ำหนักและขนาดหีบห่อ ( Weight & Measurement )
  • ค่าระวางบรรทุก ( Freight ) อาจมีการแจ้งใน B/L ในกรณีสินค้าซื้อขาย ในราคา F.B.O.

ในกรณีที่ไม่มี B/L เช่น ของนำเข้าทางรถไฟ ให้ใช้ใบส่งของหรือใบรับของการรถไฟแทนสำเนาบัญชีสินค้าเรือ (Manifest) กรณีลำเรือที่เข้ามาเป็นของนำเข้าเพื่อชำระภาษีอากรของ Overloaded ให้ใช้เลขที่ใบ Amended Overloaded แทน

บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
     คือ บัญชีแสดงรายการของสินค้าและราคาที่ซื้อขายกัน ซึ่งผู้ขายเป็นผู้จัดทำและส่งให้ผู้ซื้อโดยส่งผ่านธนาคารที่เปิด L/C
     บัญชีราคาสินค้าที่ผู้นำเข้ายื่นประกอบใบขนสินค้าขาเข้าจะต้องเป็นเอกสารที่แสดงราคาของนั้นโดยแท้จริง การยื่นบัญชีราคาสินค้าที่ไม่เป็นจริงเป็นความผิดตาม กม. ศุลกากร
* สำหรับการนำเข้าในท่ากรุงเทพฯ ผู้นำเข้าจะต้องยื่น Invoice 4 ฉบับ (ต้นฉบับ 1 สำเนา 3 )
 
    ถ้าผู้นำเข้ายื่น Invoice ที่มีลายมือชื่อด้วยการอัดพิมพ์ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 8/2506 ต้นฉบับจะต้องมีลายมือชื่อเซ็นด้วยหมึก ส่วนสำเนาผ่อนผันให้ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นด้วยหมึกอัดพิมพ์หรือประทับตราชื่อ

     บัญชีราคาสินค้าที่ไม่แสดงราคา C.I.F. ก็ให้เพิ่มราคาอีกร้อยละ 1 ถ้าขาดค่าประกันภัย (Insurance ) อย่างเดียวหรือร้อยละ 10 ถ้าขาดระวางบรรทุก ( Freight ) อย่างเดียวหรือร้อยละ 11 ถ้าไม่มีค่าประกันภัยและค่าระวางบรรทุก

    * บัญชีราคาสินค้าและเอกสารอย่างอื่นที่ผู้นำเข้ายื่นมานั้นต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นภาษาอื่นก็ต้องมีคำแปล และผู้ยื่นต้องลงนามรับรองว่า ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ

     อนึ่ง Invoice จะต้องผ่านธนาคารและผู้นำเข้าก็ต้องเขียนรับรองว่าเป็น Invoice ที่ถูกต้องและแท้จริง หรือ Certified True and Correct และประทับตราบริษัท เซ็นชื่อกำกับด้วย ส่วนสำเนาผ่อนผันให้ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นด้วยหมึก ด้วยอัดพิมพ์หรือประทับตรา

     Packing List, Weight List หรือ Attached Sheet คือ รายการการบรรจุหีบห่อว่าของแต่ละหีบห่อบรรจุอะไรบ้าง จำนวนและน้ำหนักเป็นเท่าใด ซึ่งอาจมีระบุอยู่ใน Invoice นั่นก็ได้ น้ำหนักใน Packing List จะแจ้งทั้ง Gross Weight และ Net Weight เป็นเอกสารประกอบ Invoice และให้แนบติดกับ Invoice ทุกชุด (ที่แนบในใบขนสินค้าและเอกสารอื่น)

รายการที่ต้องระบุใน  Invoice มีดังนี้ คือ



  1. ชื่อและที่ตั้งของบริษัทหรือโรงงาน ตลอดจนถึงประเทศกำเนิดของสินค้าที่ขาย 
  2. ชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ซื้อ หรือผู้นำเข้า
  3. ชื่อท่าหรือที่บรรทุกต้นทาง และท่าที่ทำการขนถ่ายปลายทาง
  4. ชื่ีอพาหนะที่บรรทุก
  5. ข้อความแสดงว่า ของนั้นได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือมีสัญญาซื้อขายหรือเป็นของส่งมาฝากขายหรือเป็นของส่งมายังห้างร้าน
  6. เครื่องหมายและเลขหมาย จำนวน และลักษณะหีบห่อ เช่น Case,Carton, Bundle 
  7. ปริมาณ และน้ำหนักเป็น ก.ก. หรือลิตร ตามมาตราเมตริกหรือมาตราประเพณีของประเทศที่ส่งของออกรวมทั้งหีบห่อและน้ำหนักสุทธิ
  8. รายละเอียดแห่งสินค้า หมายถึง ชนิดของและชื่อของแต่ละหน่วยชั้นหรือคุณภาพแห่งของเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์แห่งนั้น รวมทั้งเครื่องหมายการค้า ( Trade Mark) 
  9. กรณีที่เป็นของผสมหรือประกอบด้วยวัตถุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ให้สำแดงอัตราส่วนร้อยละของวัตถุที่ประกอบอยู่
  10. ราคาต่อหน่วย (Unit Price) ของสินค้าแต่ละชนิด แต่ละขนาดและราคารวมของชนิดและขนาดนั้นๆ และยอดรวมราคาของสินค้าทั้งหมด

    ระบุเงื่อนไขของการซื้อขาย เป็นต้นว่า ราคา CIF,  C&F หรือ F.O.B. คือ ราคาที่ยังไม่รวมค่า Freight และ Insurance แต่ค่า Inland Freight, Packing, Forwarding Fee ให้หมายความรวมเป็นค่า F.O.B. ระบุแสดงเงินตราต่างประเทศ
  11. ส่วนลด (ถ้าหากมี) ต้องจำแนกประเภทและอัตราจำนวนของส่วนลดลงให้ชัดเจน เช่น 10% Trade Discount 5% Cash Discount ส่วนลดที่จะยอมให้ลดได้นั้นจะต้องเป็นส่วนลดที่มีลักษณะเป็นการทั่วไป และเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าส่วนลดนั้นมีลักษณะเป็นการทั่วไป มิฉะนั้นจะมิลดให้
  12. ค่าใช้จ่ายต่างๆ
    - ค่าบรรจุหีบห่อ (ถ้ามี)
    - ค่าเบี้ยประกันภัย
    - ค่าระวางบรรทุก
    - ค่านายหน้า (ถ้ามี)
    - อื่นๆ
แม้จะมีการซื้อขายด้วยราคา C.I.F. หรือ C&F ก็ให้สำแดงจำแนกประเภทจำนวนค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแยกต่างหากจากกัน

การคำนวณราคาของที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กลับเป็นเงินบาทเท่านั้น ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ของนั้นนำเข้าในราชอาณาจักรตามที่กรมศุลกากรประกาศ

ถ้าใน Invoice มีค่าเงินตราต่างประเทศมากกว่า 1 สกุล ให้คำนวณเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนขั้นต้นทั้ง 2 สกุล และต้องเพิ่มราคาในส่วนที่สูงกว่าเพิ่มขึ้นด้วย ( Different Rate)

ของนำเข้าที่ไม่ต้องมี Invoice  (ไม่ต้องเรียก Invoice หรือ เอกสารอย่างอื่น)



  • ผู้นำเข้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้นำของเข้าเป็นการปกติทั้งของที่นำเข้า ก็มิได้มีปริมาณหรือราคามากมาย และมิได้นำเข้ามาเพื่อการค้า
  • ของตัวอย่างที่นำเข้ามาทางไปรษณีย์ ในหีบห่อและอัตราฝากส่งประเภทตัวอย่างสินค้า (Sample Post Package )
  • ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาทางการค้า
  • ของที่ปล่อยโดยมิต้องตรวจ


การแบ่งค่าขนส่ง ค่าประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  • การสำแดงค่าใช้จ่าย จะรวมสำแดงรายการเดียวในพิกัดอัตราสูงสุดที่รายการสินค้าในใบขนนั้นพึงต้องเสียก็ได้
  • ให้แบ่งค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสินค้าตามที่รายการสินค้านั้นๆ ต้องเสียจริง เช่น เสียค่าใช้จ่ายตามน้ำหนักของๆนั้น การแบ่งค่าใช้จ่ายก็ต้องแยกออกตามส่วนน้ำหนักของแต่ละรายการในใบขนสินค้านั้น
  • ถ้าไม่สามารถที่จะแบ่งหรือปฏิบัติดังกล่าวได้ให้แบ่งค่าใช้จ่ายตามส่วนของราคาสินค้าแต่ละรายการในใบขนสินค้านั้น
  • ในกรณีที่ใบขนสินค้ามีมากกว่า 1 รายการ แต่อัตราอากรที่เรียกเก็บเท่ากันทุกรายการ จะสำแดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือแยกแต่ละรายการก็ได้












ลักษณะการใช้งาน Inco Term และภาระค่าใช้จ่ายต่างๆของผู้ขายสินค้า

เขียนโดย Annrora ที่ 20:52


     ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ผู้ขายสินค้าจะต้องรับผิดชอบ จะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นในการส่งมอบสินค้า ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งาน Inco Term ดังนี้


สถาบันการเงิน

เขียนโดย Annrora ที่ 03:44
     สถาบันการเงินหลักที่ให้บริการด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก มีดังนี้ คือ

ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อประเภทต่างๆ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2536 โดยมีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักธุรกิจไทยในตลาดการค้าของโลก ทั้งบริการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกโดยตรง บริการที่รองรับการนำเข้าและการลงทุนในส่วนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศอันจะส่งผลต่อการขยายฐานการค้าของประเทศไทย
    นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการเงินอื่นๆที่ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นบริการเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกใมห้แก่ลูกค้าของตนที่ประกอบธุรกิจส่งออกด้วย เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นต้น

ลักษณะของสินเชื่อเพื่อการส่งออก
     สินเชื่อเพื่อการส่งออก สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. สินเชื่อก่อนการส่งออก ( Pre-Export Financing หรือ Pre-Shipment Financing )
  2. สินเชื่อหลังการส่งออก ( Post - Export Financing หรือ Post - Shipment Financing )
อธิบาย

  1. สินเชื่อก่อนการส่งออก เกิดขึ้นเนื่องจาก ผู้ประกอบการมีความจำเป็นหรือต้องการเงินทุนหมุนเวียน ภายหลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อแล้ว แต่ขาดเงินทุนในการที่จะนำไปซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อนำไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกต่อไปยังต่างประเทศ โดยผู้ส่งออกสามารถนำเอกสาร อันได้แก่ ใบรับจำนำสินค้า/ใบประทวนสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับสินค้าด้านการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น หรือใบสั่งซื้อ ( Purchase Order ) หรือสัญญาซื้อขาย ( Contact ) หรือ Letter of Credit ( L/C ) มาเปนเอกสารในการขอสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งเรียกว่าสินเชื่อ Packing Credit ได้ทั้งจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

    1.1 สินเชื่อ Packing Credit แบบกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
    เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออกสินค้าทุกชนิด เช่น สินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยธนาคารและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนด ขนาดของวงเงินที่เหมาะสมและอายุสูงสุดไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้จำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้งเบิกได้ร้อยละ 90 ของมูลค่าใน L/C หรือร้อยละ 80 ของสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อหรือร้อยละ 80 ของมูลค่าตามใบรับจำนำสินค้า หรือใบประทวนสินค้า อัตราส่วนอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาและความเหมาะสม โดยอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะคิดจากผู้ประกอบการนั้น จะเป็นไปตามสภาวะของตลาดการเงิน โดยสินเชื่อประเภทนี้ ผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้ทั้งในรูปของสกุลเงินบาท และสกุลเงินต่างประเทศ กรณีสกุลเงินต่างประเทศแต่ละธนาคารจะเป็นผู้กำหนดการขอใช้วงเงิน หลังจากที่ธนาคารได้อนุมัติวงเงินและจัดทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ส่งออกได้รับ L/C หรือสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารเหล่านี้มาใช้ประกอบการเบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าว ในการเบิกเงินกู้แต่ละครั้ง ผู้ส่งออกจะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ( P/N ) เป็นสกุลเงินบาท ให้ไว้กับธนาคารเป็นจำนวนตามอัตราส่วนมูลค่าใน L/C หรือสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ ระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะเท่ากับวันหมดอายุของ Letter of Credit หรือ L/C ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อ โดยใช้ Letter of Credit เป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ หรือเท่ากับวันสุดท้ายของวันส่งมอบสินค้า + 10 วัน ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อโดยใช้สัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อเป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ โดยระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดจะไม่เกิน 180 วัน
         เมื่อผู้ส่งออก ได้ทำการส่งสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วแล้ว ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องจัดทำ จัดหาเอกสารส่งออกเพื่อส่งให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยผ่านธนาคารที่ได้ให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ผู้ส่งออกยังสามารถร้องขอให้ธนาคารนั้นรับซื้อเอกสารการส่งออกและนำเงินบาทที่ได้จากการขายเอกสารส่งออกมาชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและเงินส่วนที่เหลือเป็นของผู้ส่งออก
         วงเงินที่ผู้ส่งออกได้รับจากธนาคาร เป็นวงเงินหมุนเวียน หรือ REVOLVING LINE OF CREDIT ซึ่งหลังจากชำระเงินกู้ที่คงค้างอยู่แล้ววงเงินนี้สามารถใช้รองรับการให้กู้ตามเอกสารการสั่งซื้อรายต่อๆไปได้
  2. สินเชื่อหลังการส่งออก ( Post-Export Financing หรือ Post-Shipment Financing )
    เป็นสินเชื่อเพื่อการส่งวออกอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อผู้ส่งออก เพราะผู้ประกอบธุรกิจการส่งออก มักจะมีคู่ค้าอยู่หลายราย และมีคำสั่งซื้อที่รอการส่งออกอยู่อีกจำนวนหนึ่ง หรือสินค้างวดที่ส่งออกไปเรียบร้อยแล้วเท่านั้น เป็นการขายแบบให้เครดิตการชำระเงินแก่ผู้ซื้อ เนื่องจากภาวะการแข่งขันเพื่อกิจการภายในบริษัท ทำให้ไม่สามารถที่จะรอให้ผู้ซื้อต่างประเทศชำระเงินตามเอกสารส่งออกได้
         ด้วยเหตุนี้ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงมีบริการสินเชื่อหลังการส่งออก เรียกว่า "บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก" ไว้ให้บริการแก่ผู้ส่งออก เพื่อผู้ส่งออกสามารถนำเงินไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้เร็วขึ้นหลังจากที่มีการจัดส่งสินค้าลงเรือถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว โดยประเภทของตั๋วสินค้าออกอาจเป็นประเภทตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออกเต็มจำนวนของมูลค่าสินค้า โดยคิดเป็นดอกเบี้ยกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Sight Bill และคิดเป็นอัตราส่วนลดกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Usance Bill ตามอัตราที่แต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด

         การให้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก
         ผู้ส่งออกสามารถใช้บริการได้ในลักษณะ ดังนี้

     ใช้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก ต่อเนื่องจากสินเชื่อ Packing Credit หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกได้ทันที โดยหลังจากที่ผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือ และจัดทำ จัดหาเอกสารการส่งออกเป็นที่เรียบร้อยแล้วผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารการส่งออกมาขายต่อธนาคารที่ผู้ส่งออกมีภาระหนี้สินเชื่อ ( Packing นาคารก็จะส่งเอกสารการส่งออกไปเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ และเมื่อได้รับการจ่ายเงินเข้ามายังธนาคาร ธนาคารก็จะทำการตัดภาระกับมูลค่าที่ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออกไว้พร้อมดอกเบี้ย ( ถ้ามี )

     กรณีผู้ส่งออก ไม่ได้ใช้บริการต่อเนื่องจากสินเชื่อ Packing Credit หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งธนาคารผู้ส่งออก สามารถนำตั๋วสินค้าออกมาขายกับธนาคารได้เช่นเดียวกัน 

2.1 กรณีตั๋วสินค้าออกที่มี L/C ผู้ส่งออกสามารถนำตั๋วมาขายหรือขายลดต่อธนาคารได้ทันที โดยมีปัจจัยด้านความเสี่ยงที่ธนาคารใช้พิจารณาในการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออก ดังนี้
  • Country Risk ความเสี่ยงจากประเทศผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และการเมือง
  • Bank Risk ความเสี่ยงจากธนาคารผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจากฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ผู้บริหารธนาคารและอื่นๆ
  • Documentary Risk ความเสี่ยงจากเอกสารการส่งออก โดยพิจารณาว่า เอกสารการส่งออกมีความผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ L/C
  • Exporter Risk ความเสี่ยงจากผู้ส่งออก โดยพิจารณาฐานะของบริษัท ผลการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร เครดิตด้านการเงิน ความสัมพันธ์หรือการติดต่อด้านธุรกิจกับธนาคารและอื่นๆ โดยปัจจัยข้างต้นนี้ หากธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่าพอยอมรับความเสี่ยงได้ ธนาคารก็จะรับซื้อตั๋วสินค้าออก จากผู้ส่งออกได้ โดยไม่ต้องมีการติดต่อขอวงเงินการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคาร
2.2 สำหรับกรณีตั๋วสินค้าออกที่เป็นประเภทส่งเอกสารไปเรียกเก็บโดยไม่มี L/C เช่น D/P หรือ D/A หากผู้ส่งออกต้องการให้ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคารให้เรียบร้อยก่อน ธนาคารจึงจะพิจารณาการรับซื้อตั๋วสินค้าออกนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่ออีกประเภทหนึ่งที่ให้ธนาคารให้บริการแก่ผู้ส่งออก นั่นก็คือ "บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า" ( Forward Bought ) เป็นบริการที่ผู้ส่งออกประสงค์จะให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากผู้ส่งออก โดยตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันก่อน แต่การส่งมอบเงินตราต่างวประเทศ ตลอดจนการทำการชำระเงิน จะกระทำกันในเวลาหนึ่งเวลาใดในอนาคตตามแต่ข้อตกลงในสัญญา

     โดยทั่วไปธนาคารจะให้บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในรูปของการให้สินเชื่อ ซึ่งการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารนี้ ธนาคารจะกระทำตามคำร้องขอของผู้ส่งออกซึ่งผู้ส่งออกอาจจะร้องขอให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศก่อนที่จะมีการส่งสินค้าออก หรือหลังจากที่มีการส่งสินค้าออกไปแล้ว แต่รอการจ่ายเงินอยู่ก็ได้

     โดยปกติ ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน ด้านธนาคารรับซื้อหรือ Buying Rate เป็นอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง โดยอาจจะมีส่วนบวกเพิ่ม ที่เรียกว่า " Premium" อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงหรืออาจจะมีส่วนลดที่เรียกว่า Discount หักออกจากอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงได้ ดังตัวอย่าง

     วัตถุประสงค์ของการให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ก็คือ เพื่อป้องกันความเสี่ยง อันเกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า

     เพื่อผู้ส่งออกสามารถรับรู้รายได้อย่างแน่นอนว่า การส่งสินค้าออกครั้งนี้ จะมีกำไรมากน้อยเพียงใด เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมาก อาจส่งผลให้ผู้ส่งออกเกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในการส่งออกครั้งนี้ได้






ขั้นตอนการติดต่อกับ Forwarder / Agent

เขียนโดย Annrora ที่ 01:36
FLOW CHART 
ขั้นตอนการติดต่อกับ Forwarder / Agent






การโอน L/C ( TRANSFER L/C )

เขียนโดย Annrora ที่ 00:54
     L/C ที่พึงโอนได้นั้น จะต้องมีข้อความว่า "TRANSFERABLE" " ไว้อย่างชัดแจ้ง ผู้ส่งออกอาจจะไม่สามารถส่งสินค้าออกตาม L/C ที่ได้รับมา จึงโอนสิทธิและเงื่อนไขต่างๆ ของ L/C ดังกล่าวไปให้แก่ผู้รับประโยชน์คนที่สอง ซึ่งจะเป็นผู้ส่งสินค้าและรับเงินค่าสินค้าแทนผู้รับผลประโยชน์คนแรก

ขั้นตอนในการขอโอน L/C  

  1. ผู้รับประโยชน์คนแรกตาม L/C ยื่นหนังสือคำสั่งโอน L/C ต่อธนาคาร  คำสั่งดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองลายเซ็นจากธนาคารที่มีบัญชีอยู่ 
  2. ธนาคารตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งที่ผู้รับผลประโยชน์ที่ยื่นมาและตรวจสอบเงื่อนไขของ L/C ด้วยว่าสามารถทำการโอนได้หรือไม่
  3. ธนาคารทำหนังสือถึงผู้รับโอน ( ผู้รับผลประโยชน์คนที่สอง) แจ้งการโอน L/C ให้และสลักหลังในด้านหลัง L/C ต้นฉบับด้วยว่า L/C ดังกล่าวถูกโนแล้ว
  4. จะโอนไปให้แก่บุคคลอื่นเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได้ แต่จะโอนได้เพียงทอดเดียว ผู้รับผลประโยชน์ที่ได้รับโอนมา จะโอนต่อไปให้แก่ผู้อื่นอีกทอดหนึ่งไม่ได้ นอกจากโอนกลับให้แก่ผู้รับผลประโยชน์คนแรกเท่านั้น สามารถแยกโอนได้ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า L/C นั้นต้องไม่ห้ามการส่งสินค้าเพียงบางส่วน ( Partial Shipment Not Allowed )
  5. จะโอนให้แก่บุคคลอื่นที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือต่างประเทศกันก็ได้
  6. ผู้โอนไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขที่นอกเหนือไปจาก L/C ที่ได้รับมาจากต่างประเทศ ยกเว้นจำนวนเงินหรือราคาและระยะเวลาส่งมอบสินค้า การส่งเอกสาร การหมดอายุของ L/C 
  7. นอกจาก L/C ที่เป็นมาจากธนาคารต่างประเทศระบุว่าเป็น TRANSFERABLE LETTER OF CREDIT แล้ว จะต้องระบุ Transferring Bank ( ธนาคารที่มีหน้าที่โอน L/C ไว้ด้วย )
ประโยชน์ในการขอโอน L/C 
  1.  ผู้ส่งออกสามารถโอน L/C ให้ผู้อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ หากตนไม่พร้อมที่จะส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแต่จำนวนเงินที่จะโอนจะต้องไม่เกินไปกว่าที่ระบุไว้ใน L/C
  2. ให้ประโยชน์ต่อผู้ซื้อในการมาตั้งตัวแทนจัดซื้อสินค้าในประเทศไทย โดยโอน L/C ที่เปิดมาจากสำนักงานของตนในต่างประเทศให้แก่ผู้ขายรายย่อยในประเทศจัดส่งแทน
  3. บรรดาบริษัทตัวแทนนายหน้า ใช้ประโยชน์จากการโอน L/C ไปให้ผู้ขายรายอื่นในการหารายได้ค่าธรรมเนียม
* ในทางปฏิบัติผู้ซื้อจะเปิด L/C ชนิดนี้ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อทราบดีว่าผู้ขายไม่มีสินค้าหรือมีสินค้าไม่เพียงพอและยินยอมให้ผู้ขายโอน L/C ไปให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ขายได้

การยืนยัน L/C ( Confirm L/C )

เขียนโดย Annrora ที่ 23:58
การยืนยัน L/C ( Comfirm L/C )

     คือ L/C ที่ผู้ขายอาจจะขอให้ธนาคารผู้รับแจ้งการเปิด L/C ( Advising Bank ) หรือธนาคารอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคารผู้เปิด L/C ยืนยันการชำระเงิน ( Adding Confirmation ) เนื่องจากผู้ขายไม่ไว้ใจในสถานะทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ผู้เปิด L/C หรือธนาคารผู้เปิด L/C ดังนั้น L/C บางฉบับที่ Opening Bank / Issuing Bank เปิดมานั้นอาจมีข้อความขอให้ Advising Bank ยืนยัน L/C ฉบับดังกล่าว โดยระบุข้อความดังนี้ 
" PLEASE ADVISE TO BENEFICIARY ADDING YOUR CONFIRMATION " ( โปรดแจ้งแก่ผู้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องยืนยัน L/C ฉบับนี้ ) 
  
     ค่าใช้จ่ายในการยืนยัน L/C เป็นภาระของผู้ซื้อ Advising Bank จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยืนยัน L/C จาก Opening Bank / Issuing Bank เพราะถือว่าเป็นการค้ำประกันประเภทหนึ่ง ค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตกประมาณ...
     
     แต่หาก Opening Bank / Issuing Bank ไม่ได้ขอให้ Advising Bank Adding Information ผู้รับประโยชน์ตาม L/C อาจจะขอให้ Advising Bank ยืนยัน L/C ได้ โดยภาระค่าธรรมเนียมจะเป็นของผู้รับผลประโยชน์เอง

     Advising Bank ไม่ผูกพันว่าจะยืนยัน L/C ทุกกรณี ธนาคารจะไม่ยืนยัน L/C หากเห็นว่า Issuing Bank / Opening Bank ที่เปิด L/C มานั้นมีชื่อเสียงและฐานะการเงินน่าไว้วางใจและอยู่ในประเทศที่ไม่มีฐานะยุ่งยากทางการเมือง

     ประโยชน์ที่ผู้ส่งออกจะได้รับจากการยืนยัน L/C คือ หากผู้ส่งออกได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของ L/C ทุกประการแล้ว ธนาคารผู้ยืนยัน L/C จะต้องรับซื้อตั๋วสินค้าออก ที่ผู้ส่งออกนำมายื่นต่อธนาคารตาม L/C ที่ถูกยืนยันนั้น โดยมิมีข้อแม้

     ข้อความที่จะพบได้เสมอใน L/C ที่มีการเพิ่มคำรับรอง คือ 
" THIS CREDIT IS CONFIRMED BY US AND WE UNDERTAKE THAT ALL DOCUMENTS PRESENTED IN ACCORDANCE WITH THE TERMS AND CONDITIONS OF THIS CREDIT WILL BE HONOURED BY US "

การแจ้งการเปิด Letter of Credit ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ Advice of L/C

เขียนโดย Annrora ที่ 23:15
การแจ้งการเปิด Letter of Credit ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ Advice of L/C

     ปกติแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะเปิด L/C ให้แก่ผู้ขายโดยตรง L/C ผ่านธนาคาร ตัวแทนในประเทศของผู้ขายให้ดำเนินการแจ้งต่อผู้ขายให้มารับ L/C ไป ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C ให้ผู้ขายทราบเรียกว่า "Advising Bank" 
     มีบางครั้งที่ธนาคารผู้เปิด L/C อาจจะส่ง L/C ไปให้แก่ผู้ขายโดยตรงก็ได้ แต่ควรเปิด "Advising Bank " เพราะ Advising Bank จะมีระบบการตรวจสอบลายเซ็นหรือรหัสลับ (Test Key) ของธนาคารผู้เปิด L/C ที่ให้ตัวอย่างไว้ต่อกัน เพื่อรับรองความถูกต้องของ L/C ถ้าไม่มีการรับรองดังวกล่าว ผู้รับประโยชน์อาจจะนำเอา L/C ไปกู้เงินหรือไปรับไปรับธนาคารผู้ขายรับซื้อ ( Negotiation ) ได้ลำบาก 

   L/C ที่ Opening Bank / Issuing Bank เปิดมาจะมี 4 ลักษณะ ดังนี้...

  1. PRELIMINARY ADVISE OF L/C ( Pre-Advise of L/C ) L/C ฉบับไม่สมบูรณ์ คือ L/C ที่ Opening Bank เปิดมาทาง Swift หรือ Telex ระบุข้อมูลสั้นๆ พอสังเขปเพื่อให้ผู้ขายทราบและเตรียมการในการจัดส่งสินค้าตาม L/C
    Pre - Advise of L/C นี้ ผู้รับผลประโยชน์ยังใช้ดำเนินการใดไม่ได้ จะต้องรอ Confirmation L/C ส่งตามมาเสียก่อน ซึ่งปกติแล้วใน Pre-Advice of L/C จะแจ้งให้ทราบว่าจะมีรายละเอียดตัว L/C ที่สมบูรณ์ส่งตามมา ( Full Details to Follow )
  2. CONFIRMATION OF L/C ( L/C ฉบับยืนยันการเปิด L/C ฉบับไม่สมบูรณ์ )
    คือ L/C ฉบับยืนยันการเปิด L/C ฉบับไม่สมบูรณ์ ที่ Opening Bank / Issuing Bank ส่งรายละเอียดของ L/C ที่สมบูรณ์ตามมา หลังจากที่เคยส่ง Pre-Advise of L/C มาทาง Swift หรือ Telex ก่อนหน้านั้นแล้ว L/C ฉบับยืนยันการเปิดนี้ จะมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนและมีข้อความระบุว่า เคยส่ง Pre-Advise of L/C มาแล้วสำหรับการขอสินเชื่อ Packing Credit under L/C , การขอ Back To Back L/C หรือการขายตั๋วสินค้าออกต่อธนาคาร ผู้ส่งออกจะต้องนำ Pre-Advise of L/C และ Confirmation of L/C แนบประกอบการยื่นตั๋วต่อธนาคาร ธนาคารจะไม่ดำเนินการใดๆ หากผู้ส่งออกยื่นเพียง L/C ดังกล่าวอย่างหนึ่งอย่างใด
  3. ORIGINAL L/C (L/C ต้นฉบับ)คือ L/C ต้นฉบับที่ถูกส่งมาทางไปรษณีย์อากาศ โดยที่ไม่เคยมีการแจ้ง Pre-Advise of L/C มาก่อน L/C แบบนี้จะมีข้อมูลใน L/C ครบถ้วน  ผู้ส่งออกสามารถนำ L/C นี้ไปขอทำ Packing Credit under L/C , การขอ Back to back L/C หรือการขายตั๋วสินค้าออกต่อธนาคารตาม L/C ได้ทันที
  4. SWIFT หรือ TELEX 
    คือ L/C ฉบับเปิดโดยสารโทรคมนาคมที่สมบูรณ์และพึงใช้บังคับได้ทาง Opening Bank / Issuing Bank แจ้งเปิดมาทางสารโทรคมนาคม เช่น TELEX , Cable หรือ Swift ( Society For Worldwide Inter Bank Financial Telecommunication ) ถึงแม้จะเปิดมาทางสารโทรคมนาคมดังกล่าว แต่ก็มีข้อมูลรายละเอียดใน L/C สมบูรณ์ครบถ้วน มีผลพึงใช้บังคับได้เช่นเดียวกับ L/C ต้นฉบับปกติ จะมีข้อความในตอนท้ายของ L/C ว่า " THIS CREDIT IS AN OPERATIVE CREDIT INSTRUMENTS " ถึงแม้จะไม่มีข้อความดังกล่าวนี้ แต่ถ้ามีข้อมูลรายละเอียดของ L/C ครบถ้วนก็ถือได้ว่าเป็น L/C ที่สมบูรณ์ แต่จะต้องไม่มีข้อความระบุว่ารายละเอียดจะส่งตามมาภายหลัง

         การแจ้งการแก้ไข Letter of Credit ( Advise of Amendment L/C มี 4 ลักษณะ เช่นเดียวกับการแจ้งการเปิด L/C คือ

  1.  Preliminary Advise of Amendment L/C ( Pre - Advice of Amendment  L/C ) 
  2. Confirmation of Amendment L/C 
  3. Original of Amendment L/C 
  4. Swift หรือ Telex Operative Amendment Credit Instrument 
     เมื่อ Advising Bank ได้รับ L/C จาก Opening Bank / Issuing Bank ก็จะดำเนินขั้นตอน คือ
  1. ตรวจสอบลายเซ็นของ Opening Bank / Issuing Bank จากตัวอย่างลายเซ็นที่ให้ไว้ ถ้าเป็น Telex จะต้องมี Test Key ถ้าเป็น Swift จะต้องเป็น Format ที่ถูกต้องและ Authenticated ด้วย
  2. พิมพ์ใบนำส่ง L/C แจ้งให้ผู้รับผลประโยชน์มารับ L/C ไป
  3. โทรศัพท์แจ้งให้ผู้รับผลประโยชน์มารับ L/C หรือจดหมายแจ้งให้มารับ ถ้าติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ได้
  4. เก็บเงินค่าธรรมเนียมแจ้งการเปิด L/C จากผู้ขายทั้งการแจ้งการเปิด L/C และการแก้ไข ฉบับละ 500 บาท
  5. รับโอน L/C ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์คนที่สอง ตามคำสั่งของผู้รับประโยชน์คนแรก หรือยืนยัน L/C โดยธนาคารจะได้ค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน
  6. รับยืนยัน L/C ตามคำสั่งของธนาคารผู้เปิด L/C หรือผู้รับประโยชน์ แต่ทั้งนี้ธนาคารจะยืนยัน L/C ให้หรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคาร

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิด L/C

เขียนโดย Annrora ที่ 22:02
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิด L/C 

  1. ผู้ขอเปิด L/C ( Applicant ) หรือ ผู้ซื้อ (Importer) รวมทั้งนายหน้า หรือตัวแทนของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจากธนาคาร
  2. ธนาคารผู้เปิด L/C (Open Bank หรือ Issuing Bank) หมายถึง ธนาคารที่ได้รับการขอให้เปิด L/C จากผู้ซื้อและได้ทำการเปิด L/C ไปยังธนาคารของผู้ขายในต่างประเทศ จึงเป็นธนาคารผู้ซึ่งต้องรับรองการชำระเงินค่าสินค้าของผู้ซื้อ
  3. ธนาคารผู้แจ้ง หรือ ส่ง L/C ไปให้ผู้ขาย ( Advising Bank ) หรือ ( Notifying Bank ) หมายถึง ธนาคารผู้แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ (ผู้ส่งออก) ทราบถึงการเปิด L/C ของผู้ซื้อ
  4. ผู้รับประโยชน์ ( Beneficiary ) / ผู้ส่งออก   (  Exporter ) หมายถึง ผู้ที่ได้รับชำระเงินตาม L/C ทั้งนี้เมื่อผู้รับประโยชน์ได้จัดส่งสินค้าตามข้อกำหนดของ L/C แล้ว ผู้รับประโยชชน์ก็จะจัดเตรียมเอกสารทั้งหมดตาม L/C ต้องการ ไปยื่นขายต่อธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว ( Negotiating Bank )
  5. ธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว ( Negotiating Bank ) หมายถึง ธนาคารผู้ตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารเพื่อการชำระเงิน
  6. ธนาคารผู้ได้รับการเจาะจงให้รับซื้อตั๋วตาม L/C ที่เปิดมาโดยเฉพาะ ( Restricted Bank ) หมายถึง ธนาคารสที่ผู้เปิด L/C ระบุเจาะจงให้ผู้รับประโยชน์รับเงินจากธนาคารดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยที่ผู้รับผลประโยชน์อาจมิได้เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นมาก่อนก็ได้
  7. ธนาคารผู้จ่ายเงินหรือรับรองตั๋ว ( Paying Bank/ Reimbursing Bank/ Accepting Bank ) หมายถึง ธนาคารที่ L/C ระบุให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว หรือเป็นผู้รับรองตั๋วให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ โดยที่ธนาคารผู้เปิด L/C จะมีหนังสือให้สิทธิ์ในการเรียกเบิกเงินคืน ( Authorization to Reimburse )แก่ธนาคารนั้นไว้ล่วงหน้า
  8. ธนาคารผู้รับรองเครดิต ( Confirming Bank ) หมายถึง ธนาคารผู้เพิ่มการยืนยันว่า จะรับรองผูกพันชำระเงินตาม L/C ฉบับดังกล่าว หากธนาคารผู้เปิด L/C ไม่สามารถชำระเงินตาม L/C นั้น ซึ่งผู้ขายยื่นเอกสารได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุใน L/C 


เงื่อนไขการชำระเงิน

เขียนโดย Annrora ที่ 21:00
เงื่อนไขการชำระเงิน
( Term Of Payment )

เงื่อนไขการชำระเงินเมื่อเห็น ( At Sight )
หมายความว่า ผู้ซื้อ ( Buyer ) จะต้องชำระเงินค่าสินค้าต่อธนาคารเมื่อเห็นตั๋ว ธนาคารจึงจะส่งมอบตั๋วแลกเงินและเอกสารขนส่งให้ หากผู้ซื้อไม่ชำระเงิน แล้วธนาคารก็จะไม่ส่งมอบเอกสารการขนส่งให้ คำว่า At Sight นี้ธนาคารอาจจะตีความว่าผู้ซื้อต้องมาติดต่อขอชำระเงิน เพื่อรับเอกสารส่งออกภายใน 3 วัน นับจากวันที่ธนาคารแจ้งให้ทราบ แต่ในบางประเทศ เงื่อนไขอาจจะแตกต่างออกไป เช่น การชำระภายใน 24 ชม. หลังจากเห็นตั๋ว เป็นต้น 

สำหรับในประเทศของผู้ขายแล้ว เมื่อผู้ขายยื่นตั๋วประเภท At Sight ตาม L/C ให้แก่ Negotiating Bank เพื่อการขายตั๋วแล้ว ถ้าหากเอกสารดังกล่าวถูกต้องตรงตามเงื่อนไขใน L/C Negotiating Bank ก็จะรับซื้อเอกสารนั้น โดยจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายทันที และ Negotiating Bank จะส่งเอกสารดังกล่าวไปขอขึ้นเงินตราต่างประเทศคืนจาก Opening Bank ซึ่ง Opening Bank จะต้องชำระเงินทันที หากเอกสารถูกต้องตาม L/C และผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันทีที่เห็นตั๋ว จึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปได้ดังกล่าวข้างต้น

เงื่อนไขการชำระเงินที่มีกำหนดระยะเวลา ( Deferred Payment )
หมายความว่า ผู้ซื้อ ( Buyer)ไม่ต้องชำระเงินต่อผู้ขายทันทีที่เห็นตั๋ว แต่ให้ทำการรับรองตั๋วแลกเงิน ( Accept Bill ) เพื่อทีจะชำระเงินตามเวลาที่ตกลงกันไว้ในอนาคต 

ประเภทต่างๆของเงื่อนไขการชำระเงินที่มีกำหนดเวลา ( Defend Payment )

  • 30/60/90 Days After Sight  :  ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30/60/หรือ 90 วัน (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) หลังจากวันที่เห็นตั๋ว (วันที่ยอมรับสภาพหนี้)
  • 30/60/90 Days After Date : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30/60/ หรือ 90 วัน หลังจากวันที่ออกตั๋วแลกเงิน ( Date Of Bill Exchange )
  • 90/120/360 Days After B/L Date : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 90/120/ หรือ 360 วัน หลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางเรือ
  • 2 Months After Airway Bill : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 2 เดือน นับจากวันที่ออกใบรับขนส่งทางอากาศ
  • 30 Days After Good Pass : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 30 วัน หลังจากวันที่สินค้าผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากองค์การอาหารและยา
  • 2 Months After Arrival of Goods : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 2 เดือน หลังจากวันที่สินค้าถึงปลายทาง
  • 60 Days After Customs Goods : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วัน หลังจาก Clearance of วันที่ทำพิธีศุลกากรรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว
  • 60 Days After Invoice Date : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วัน หลังจากวันที่ออกใบกำกับสินค้า
  • 60 Days After Acceptance : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วัน หลังจากวันที่เซ็นชื่อรับรองตั๋วแลกเงิน
  • 60 Days After On-Board Date : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วัน หลังจากวันที่บรรทุกสินค้าลงสู่ระวางเรือ 
  • 60 Days After First : ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าภายใน 60 วัน หลังจาก Presentation วันที่ธนาคารยื่นเอกสารให้ครั้งแรก



 

Annrora's Brains Template by Ipietoon Blogger Template | Gadget Review