พิกัดอัตราอากรขาออก

เขียนโดย Annrora ที่ 20:42
กฏหมายพิกัดกรมศุลกากร ได้จำแนกประเภทสินค้าพิกัดกรมฯ สำหรับสินค้าที่ส่งออกไว้ 9 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1   ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง ปลายข้าวหรือรำ
ประเภทที่ 2   เศษโลหะทุกชนิด อัตราอากร 50 % ปัจจุบันมี ป.คลังที่ ศก. 1/2542 กำหนดให้ไม่ต้องเสียอากร
ประเภทที่ 3  หนังโคและหนังกระบือ ไม่ว่าดิบหรือฟอกแล้ว (ไม่รวมถึงเศษด้วย) เศษที่ใช้ไม่ได้และผงซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำหนังและอุตสาหกรรมผลิตหนัง
   (ก) หนังดิบ  อัตรา กก.ละ 5.00 บาท
   (ข) อื่นๆ อัตรา กก.ละ 4.00 บาท
( ในปัจจุบันนี้หนังโคและหนังกระบือ เฉพาะที่ฟอกสมบูรณ์แล้วไม่ต้องเสียอากรตามป.คลังที่ ศก.1/2528
ประเภทที่ 4  ยาง เสียอากรในอัตราต่างๆตามลักษณะของยาง
ประเภทที่ 5  ไม้ ไม้แปรรูป และของทำด้วยไม้
     (ก) ไม้และไม้แปรรูป อัตราอากร 40% (เฉพาะไม้ยูคาลิปตัส ไม้สนประดิพัทธ์ ไม้ไผ่เลี้ยงและไม้ไผ่สีสุก ไม่ต้องเสียภาษีอากร ตามป.คลังที่ ศก.1/2542
     (ข) ของทำด้วยไม้
           - ชนิดที่ไม่เหมาะที่จะนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่น อัตรา 10%
           - อื่นๆ อัตรา 20%
ประเภทที่ 6  เส้นไหมดิบที่ยังไม่ได้ตีเกลียว และเส้นด้ายที่ทำด้วยไหม ขี้ไหม หรือเศษไหม
ประเภทที่ 7  ปลาป่น หรือปลาอบแห้งที่ยังมิได้ป่น อันไม่เหมาะสำหรับเป็นอาหารของมนุษย์ เสียอากรอัตรา 50% ถึง 75% แล้วแต่ราคาต่อ กก. ที่แตกต่างกัน
ประเภทที่ 8  ของที่ส่งออกจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย อัตราอากร 10%
ประเภทที่ 9  ของซึ่งยังมิได้ระบุหรือรวมไว้ในประเภทอันใดในพิกัดอากรขาออกฉบับนี้ไม่ต้องเสียอากร

สำหรับในด้านภาษีการค้าขาออก มีสินค้าหลายชนิดที่จะต้องเสียภาษีการค้า ซึ่งได้กำหนดไว้ตั้งแต่ 1.5% ถึง 2% (โดยคิดภาษีการค้าตามราคา FOB) ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของสินค้า เช่น สัตว์น้ำที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เสีย 15% ข้าวโพด เสีย 2.0% สินค้าที่ได้รับการชดเชยค่าภาษีส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จัดเข้าประเภทที่ 9

ระเบียบในการโอนบัตรภาษี

เขียนโดย Annrora ที่ 00:04
ประกาศกรมศุลกากรที่ 64/2528
เรื่อง ระเบียบในการโอนบัตรภาษี ตามความในมาตรา 21 
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิต
ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524

ด้วยกรมศุลกากรเห็นสมควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการโอนบัตรภาษีและผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรที่ประสงค์จะโอนให้แก่ผู้อื่น อาศัยอำนาจตามความมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 อธิบดีกรมศุลกากรโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
  1. บริษัทฯ ห้าง ร้าน ที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร ซึ่งประสงค์โอนสิทธิที่ได้รับเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีให้แก่บุคคลอื่นให้แสดงความจำนงตามแบบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก (แบบ ชภ.16) และยื่นต่อฝ่ายชดเชยอากร กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก
  2. ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยที่ประสงค์จะโอนสิทธิดังกล่าวต้องยื่นหลักฐานพร้อมแนบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก  ดังนี้
    - หนังสือแสดงความจำนง
    - สำเนาทะเบียนการค้าของผู้รับโอนสิทธิ
  3. เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามแบบ ชภ. 16 ไว้แล้ว ต่อมามีความประสงค์ที่จะโอนสิทธิดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่นต้องยื่นความจำนงที่จะขอโอนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ฝ่ายชดเชยอากร กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก ได้รับคำขอรับเงินชดเชย พร้อมหลักฐานตามข้อ 2 ตามแบบแนบท้าย
  4. ในกรณีที่มีการส่งสินค้ากลับคืนและต้องคืนเงินค่าสินค้านั้นให้แก่ผู้วื้อ ผู้อื่นและผู้รับโอนสิทธิได้รับเงินชดเชยยังคงต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อกรมศุลกากรทุกประการ ตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524

ระเบียบในการขอรับบัตรภาษีเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย

เขียนโดย Annrora ที่ 21:48
ประกาศกรมศุลกากรที่ 29/2528
เรื่อง ระเบียบในการขอรับบัตรภาษีเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย

ด้วยกรมศุลกากร เห็นเป็นการสมควรกำหนดระเบียบในการขอรับบัตรภาษีใหม่แทนบัตรภาษีเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย อธิบดีกรมศุลกากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 จึงกำหนดระเบียบไว้ดังนี้
  1. บริษัทฯ ห้างร้าน ที่มีความประสงค์จะให้กรมศุลกากรออกบัตรภาษีให้ใหม่ทดแทนบัตรภาษีเดิมที่ชำรุดหรือสูญหายต้องยื่นความจำนงตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ต่อฝ่ายชดเชย กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก
  2. ในการยื่นความจำนงตามข้อ 1 ให้ผู้มีชื่่อในบัตรภาษียื่นหลักฐานประกอบดังนี้
    2.1 บัตรภาษีเดิมที่ชำรุดหรือ
    2.2 หนังสือรับแจ้งความของสถานีตำรวจท้องถิ่นที่ที่บัตรสูญหาย โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับบัตรภาษีดังกล่าว เช่น เลขที่บัตรภาษี มูลค่าของบัตรภาษี อายุของบัตรภาษี จำนวนของบัตรภาษี และหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
  3. เมื่อบริษัท ห้างร้าน ได้ยื่นความจำนงตามข้อ 1. พร้อมหลักฐานตามข้อ 2. และเจ้าหน้าที่ศุลกากรดำเนินการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในกรณีบัตรภาษีเดิมชำรุด กรมศุลกากรจะออกบัตรภาษีใหม่แทนบัตรภาษีที่ชำรุดต่อไป

    สำหรับกรณีบัตรสูญหาย เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่ปรากฏว่าได้มีการนำบัตรที่สูญหายไปชำระภาษีอากร และกรมศุลกากรจะออกประกาศยกเลิกบัตรภาษีที่สูญหายให้ทราบโดยทั่วกัน เมื่อครบกำหนด 30 วันนับแต่วันออกประกาศกรมศุลกากร และไม่มีผู้ใดคัดค้าน หรือโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของบัตรที่สูญหายแล้ว กรมศุลกากรจะดำเนินการออกบัตรภาษีใหม่เพื่อนำไปใช้แทนบัตรที่สูญหายดังกล่าว
  4. ถ้าผลการสอบปรากฏว่าได้มีการนำบัตรภาษีที่ขอยกเลิกไปใช้ชำระภาษีอากร กรมศุลกากรจะพิจารณาดำเนินการตามกฏหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในสถานหนักต่อไป
  5. บัตรภาษีที่ออกให้ใหม่นี้ จะมีอายุการใช้งาน และอาจขอต่ออายุได้เพียงเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามบัตรภาษีเดิม
 

Annrora's Brains Template by Ipietoon Blogger Template | Gadget Review