ขั้นตอนในการขอโอน L/C
- ผู้รับประโยชน์คนแรกตาม L/C ยื่นหนังสือคำสั่งโอน L/C ต่อธนาคาร คำสั่งดังกล่าวจะต้องได้รับการรับรองลายเซ็นจากธนาคารที่มีบัญชีอยู่
- ธนาคารตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งที่ผู้รับผลประโยชน์ที่ยื่นมาและตรวจสอบเงื่อนไขของ L/C ด้วยว่าสามารถทำการโอนได้หรือไม่
- ธนาคารทำหนังสือถึงผู้รับโอน ( ผู้รับผลประโยชน์คนที่สอง) แจ้งการโอน L/C ให้และสลักหลังในด้านหลัง L/C ต้นฉบับด้วยว่า L/C ดังกล่าวถูกโนแล้ว
- จะโอนไปให้แก่บุคคลอื่นเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได้ แต่จะโอนได้เพียงทอดเดียว ผู้รับผลประโยชน์ที่ได้รับโอนมา จะโอนต่อไปให้แก่ผู้อื่นอีกทอดหนึ่งไม่ได้ นอกจากโอนกลับให้แก่ผู้รับผลประโยชน์คนแรกเท่านั้น สามารถแยกโอนได้ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า L/C นั้นต้องไม่ห้ามการส่งสินค้าเพียงบางส่วน ( Partial Shipment Not Allowed )
- จะโอนให้แก่บุคคลอื่นที่อยู่ในประเทศเดียวกันหรือต่างประเทศกันก็ได้
- ผู้โอนไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขที่นอกเหนือไปจาก L/C ที่ได้รับมาจากต่างประเทศ ยกเว้นจำนวนเงินหรือราคาและระยะเวลาส่งมอบสินค้า การส่งเอกสาร การหมดอายุของ L/C
- นอกจาก L/C ที่เป็นมาจากธนาคารต่างประเทศระบุว่าเป็น TRANSFERABLE LETTER OF CREDIT แล้ว จะต้องระบุ Transferring Bank ( ธนาคารที่มีหน้าที่โอน L/C ไว้ด้วย )
- ผู้ส่งออกสามารถโอน L/C ให้ผู้อื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ หากตนไม่พร้อมที่จะส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแต่จำนวนเงินที่จะโอนจะต้องไม่เกินไปกว่าที่ระบุไว้ใน L/C
- ให้ประโยชน์ต่อผู้ซื้อในการมาตั้งตัวแทนจัดซื้อสินค้าในประเทศไทย โดยโอน L/C ที่เปิดมาจากสำนักงานของตนในต่างประเทศให้แก่ผู้ขายรายย่อยในประเทศจัดส่งแทน
- บรรดาบริษัทตัวแทนนายหน้า ใช้ประโยชน์จากการโอน L/C ไปให้ผู้ขายรายอื่นในการหารายได้ค่าธรรมเนียม