สถาบันการเงิน

เขียนโดย Annrora ที่ 03:44
     สถาบันการเงินหลักที่ให้บริการด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก มีดังนี้ คือ

ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อประเภทต่างๆ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออก

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2536 โดยมีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักธุรกิจไทยในตลาดการค้าของโลก ทั้งบริการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกโดยตรง บริการที่รองรับการนำเข้าและการลงทุนในส่วนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศอันจะส่งผลต่อการขยายฐานการค้าของประเทศไทย
    นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการเงินอื่นๆที่ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นบริการเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกใมห้แก่ลูกค้าของตนที่ประกอบธุรกิจส่งออกด้วย เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นต้น

ลักษณะของสินเชื่อเพื่อการส่งออก
     สินเชื่อเพื่อการส่งออก สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. สินเชื่อก่อนการส่งออก ( Pre-Export Financing หรือ Pre-Shipment Financing )
  2. สินเชื่อหลังการส่งออก ( Post - Export Financing หรือ Post - Shipment Financing )
อธิบาย

  1. สินเชื่อก่อนการส่งออก เกิดขึ้นเนื่องจาก ผู้ประกอบการมีความจำเป็นหรือต้องการเงินทุนหมุนเวียน ภายหลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อแล้ว แต่ขาดเงินทุนในการที่จะนำไปซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อนำไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกต่อไปยังต่างประเทศ โดยผู้ส่งออกสามารถนำเอกสาร อันได้แก่ ใบรับจำนำสินค้า/ใบประทวนสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับสินค้าด้านการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น หรือใบสั่งซื้อ ( Purchase Order ) หรือสัญญาซื้อขาย ( Contact ) หรือ Letter of Credit ( L/C ) มาเปนเอกสารในการขอสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งเรียกว่าสินเชื่อ Packing Credit ได้ทั้งจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

    1.1 สินเชื่อ Packing Credit แบบกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
    เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออกสินค้าทุกชนิด เช่น สินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยธนาคารและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนด ขนาดของวงเงินที่เหมาะสมและอายุสูงสุดไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้จำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้งเบิกได้ร้อยละ 90 ของมูลค่าใน L/C หรือร้อยละ 80 ของสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อหรือร้อยละ 80 ของมูลค่าตามใบรับจำนำสินค้า หรือใบประทวนสินค้า อัตราส่วนอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาและความเหมาะสม โดยอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะคิดจากผู้ประกอบการนั้น จะเป็นไปตามสภาวะของตลาดการเงิน โดยสินเชื่อประเภทนี้ ผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้ทั้งในรูปของสกุลเงินบาท และสกุลเงินต่างประเทศ กรณีสกุลเงินต่างประเทศแต่ละธนาคารจะเป็นผู้กำหนดการขอใช้วงเงิน หลังจากที่ธนาคารได้อนุมัติวงเงินและจัดทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ส่งออกได้รับ L/C หรือสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารเหล่านี้มาใช้ประกอบการเบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าว ในการเบิกเงินกู้แต่ละครั้ง ผู้ส่งออกจะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ( P/N ) เป็นสกุลเงินบาท ให้ไว้กับธนาคารเป็นจำนวนตามอัตราส่วนมูลค่าใน L/C หรือสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อ ระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะเท่ากับวันหมดอายุของ Letter of Credit หรือ L/C ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อ โดยใช้ Letter of Credit เป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ หรือเท่ากับวันสุดท้ายของวันส่งมอบสินค้า + 10 วัน ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อโดยใช้สัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อเป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ โดยระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดจะไม่เกิน 180 วัน
         เมื่อผู้ส่งออก ได้ทำการส่งสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วแล้ว ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องจัดทำ จัดหาเอกสารส่งออกเพื่อส่งให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยผ่านธนาคารที่ได้ให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ผู้ส่งออกยังสามารถร้องขอให้ธนาคารนั้นรับซื้อเอกสารการส่งออกและนำเงินบาทที่ได้จากการขายเอกสารส่งออกมาชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและเงินส่วนที่เหลือเป็นของผู้ส่งออก
         วงเงินที่ผู้ส่งออกได้รับจากธนาคาร เป็นวงเงินหมุนเวียน หรือ REVOLVING LINE OF CREDIT ซึ่งหลังจากชำระเงินกู้ที่คงค้างอยู่แล้ววงเงินนี้สามารถใช้รองรับการให้กู้ตามเอกสารการสั่งซื้อรายต่อๆไปได้
  2. สินเชื่อหลังการส่งออก ( Post-Export Financing หรือ Post-Shipment Financing )
    เป็นสินเชื่อเพื่อการส่งวออกอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อผู้ส่งออก เพราะผู้ประกอบธุรกิจการส่งออก มักจะมีคู่ค้าอยู่หลายราย และมีคำสั่งซื้อที่รอการส่งออกอยู่อีกจำนวนหนึ่ง หรือสินค้างวดที่ส่งออกไปเรียบร้อยแล้วเท่านั้น เป็นการขายแบบให้เครดิตการชำระเงินแก่ผู้ซื้อ เนื่องจากภาวะการแข่งขันเพื่อกิจการภายในบริษัท ทำให้ไม่สามารถที่จะรอให้ผู้ซื้อต่างประเทศชำระเงินตามเอกสารส่งออกได้
         ด้วยเหตุนี้ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงมีบริการสินเชื่อหลังการส่งออก เรียกว่า "บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก" ไว้ให้บริการแก่ผู้ส่งออก เพื่อผู้ส่งออกสามารถนำเงินไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้เร็วขึ้นหลังจากที่มีการจัดส่งสินค้าลงเรือถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว โดยประเภทของตั๋วสินค้าออกอาจเป็นประเภทตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออกเต็มจำนวนของมูลค่าสินค้า โดยคิดเป็นดอกเบี้ยกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Sight Bill และคิดเป็นอัตราส่วนลดกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Usance Bill ตามอัตราที่แต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด

         การให้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก
         ผู้ส่งออกสามารถใช้บริการได้ในลักษณะ ดังนี้

     ใช้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก ต่อเนื่องจากสินเชื่อ Packing Credit หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกได้ทันที โดยหลังจากที่ผู้ส่งออกส่งสินค้าลงเรือ และจัดทำ จัดหาเอกสารการส่งออกเป็นที่เรียบร้อยแล้วผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารการส่งออกมาขายต่อธนาคารที่ผู้ส่งออกมีภาระหนี้สินเชื่อ ( Packing นาคารก็จะส่งเอกสารการส่งออกไปเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ และเมื่อได้รับการจ่ายเงินเข้ามายังธนาคาร ธนาคารก็จะทำการตัดภาระกับมูลค่าที่ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออกไว้พร้อมดอกเบี้ย ( ถ้ามี )

     กรณีผู้ส่งออก ไม่ได้ใช้บริการต่อเนื่องจากสินเชื่อ Packing Credit หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งธนาคารผู้ส่งออก สามารถนำตั๋วสินค้าออกมาขายกับธนาคารได้เช่นเดียวกัน 

2.1 กรณีตั๋วสินค้าออกที่มี L/C ผู้ส่งออกสามารถนำตั๋วมาขายหรือขายลดต่อธนาคารได้ทันที โดยมีปัจจัยด้านความเสี่ยงที่ธนาคารใช้พิจารณาในการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออก ดังนี้
  • Country Risk ความเสี่ยงจากประเทศผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และการเมือง
  • Bank Risk ความเสี่ยงจากธนาคารผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจากฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ผู้บริหารธนาคารและอื่นๆ
  • Documentary Risk ความเสี่ยงจากเอกสารการส่งออก โดยพิจารณาว่า เอกสารการส่งออกมีความผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ L/C
  • Exporter Risk ความเสี่ยงจากผู้ส่งออก โดยพิจารณาฐานะของบริษัท ผลการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร เครดิตด้านการเงิน ความสัมพันธ์หรือการติดต่อด้านธุรกิจกับธนาคารและอื่นๆ โดยปัจจัยข้างต้นนี้ หากธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่าพอยอมรับความเสี่ยงได้ ธนาคารก็จะรับซื้อตั๋วสินค้าออก จากผู้ส่งออกได้ โดยไม่ต้องมีการติดต่อขอวงเงินการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคาร
2.2 สำหรับกรณีตั๋วสินค้าออกที่เป็นประเภทส่งเอกสารไปเรียกเก็บโดยไม่มี L/C เช่น D/P หรือ D/A หากผู้ส่งออกต้องการให้ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคารให้เรียบร้อยก่อน ธนาคารจึงจะพิจารณาการรับซื้อตั๋วสินค้าออกนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่ออีกประเภทหนึ่งที่ให้ธนาคารให้บริการแก่ผู้ส่งออก นั่นก็คือ "บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า" ( Forward Bought ) เป็นบริการที่ผู้ส่งออกประสงค์จะให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากผู้ส่งออก โดยตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันก่อน แต่การส่งมอบเงินตราต่างวประเทศ ตลอดจนการทำการชำระเงิน จะกระทำกันในเวลาหนึ่งเวลาใดในอนาคตตามแต่ข้อตกลงในสัญญา

     โดยทั่วไปธนาคารจะให้บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในรูปของการให้สินเชื่อ ซึ่งการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารนี้ ธนาคารจะกระทำตามคำร้องขอของผู้ส่งออกซึ่งผู้ส่งออกอาจจะร้องขอให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศก่อนที่จะมีการส่งสินค้าออก หรือหลังจากที่มีการส่งสินค้าออกไปแล้ว แต่รอการจ่ายเงินอยู่ก็ได้

     โดยปกติ ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน ด้านธนาคารรับซื้อหรือ Buying Rate เป็นอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง โดยอาจจะมีส่วนบวกเพิ่ม ที่เรียกว่า " Premium" อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงหรืออาจจะมีส่วนลดที่เรียกว่า Discount หักออกจากอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงได้ ดังตัวอย่าง

     วัตถุประสงค์ของการให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ก็คือ เพื่อป้องกันความเสี่ยง อันเกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า

     เพื่อผู้ส่งออกสามารถรับรู้รายได้อย่างแน่นอนว่า การส่งสินค้าออกครั้งนี้ จะมีกำไรมากน้อยเพียงใด เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมาก อาจส่งผลให้ผู้ส่งออกเกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในการส่งออกครั้งนี้ได้






 

Annrora's Brains Template by Ipietoon Blogger Template | Gadget Review