เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจปล่อยของออกจากอารักขาของศุลกากร

เขียนโดย Annrora ที่ 19:29
     เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาของศุลกากร มีดังนี้...

  1. ใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้า
    จำนวน : ต้นฉบับ 1 ชุด
                   สำเนาคู่ฉบับ 3 ชุด
                   ใบสั่งปล่อย (ตั๋วแดง)
  2. ใบตราส่งฯ (Bill of Lading หรือ B/L)
    จำนวน : สำเนา only
  3. บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
    จำนวน : ต้นฉบับ 1 ชุด
                   สำเนา 4 ชุด
  4. เอกสารอื่นๆ เช่น packing list, ใบอนุญาตนำของเข้า
*Note
สำเนาใบขนสินค้าทุกฉบับและใบสั่งปล่อย ใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาจากต้นฉบับโดยตรง

อธิบาย




ใบขนสินค้าขาเข้า


     พิมพ์ด้วยกระดาษสีขาว ต้นฉบับลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีน้ำเงินอ่อน  สำเนาลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีดำ ใบสั่งปล่อย (ตัวแดง) ลายเส้นและตัวอักษรพิมพ์เป็นสีแดง

ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ B/L)


     คือ เอกสารที่มีข้อความแสดงว่าเจ้าของเรือ นายเรือ หรือตัวแทนได้รับสินค้าจำนวนหนึ่งจากผู้ส่ง เพื่อบรรทุกไปให้ผู้รับยังท่าเรือแห่งใดแห่งหนึ่ง ใบตราส่งสินค้ามีข้อความแสดงภาพของสินค้า อัตราค่าระวางบรรทุกที่ผู้รับสินค้าจะต้องชำระ พร้อมทั้งลายเซ็นของเจ้าของเรือ นายเรือ หรือตัวแทนและสำเนามอบให้ผู้ส่งสินค้านั้นด้วย ใบตราส่งนี้มีข้อความบรรจุทั้งด้านหน้าและด้านหลัง : ด้านหน้าเป็นรายการเกี่ยวกับสินค้า ด้านหลังเป็นสัญญาว่าด้วยการเดินทาง

รายการที่แจ้งในใบตราส่งสินค้า มีดังนี้

  • Shipper ชื่อผู้ส่ง
  • Consignee ชื่อผู้รับ + Address ที่อยู่ (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงชื่อเรือที่นำเข้าที่แท้จริง ให้ธนาคารผู้เกี่ยวข้องรับรองก่อน)
  • ชื่อเรือนำของเข้า (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงชื่อเรือที่นำเข้า เช่น ในกรณีที่มีการถ่ายลำเรือในต่างประเทศ ให้ตัวแทนเรือที่เกี่ยวข้องสำแดงเพิ่มเติมและรับรองก่อน
  • ท่าที่บรรทุกของ ( Port of บLoading )
  • เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ ( No. and Kind of Packages )
  • วันนำเข้า เรือยังไม่เข้าต้องสำแดงล่วงหน้า 
  • ชนิดของสินค้า ( Description of Goods )
  • เลขที่ใบตราส่ง จะเป็นเลขที่เกี่ยวกับลำดับรายการ ในบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (ในกรณีที่ไม่มีการสำแดงเลขที่ดังกล่าวในใบตราส่ง เช่น ในกรณีถ่านลำเรือในต่างประเทศ หรือเป็นของ Overloaded ให้ตัวแทนเรือที่เกี่ยวข้องสำแดงเพิ่มเติมและรับรองก่อน)
  • น้ำหนักและขนาดหีบห่อ ( Weight & Measurement )
  • ค่าระวางบรรทุก ( Freight ) อาจมีการแจ้งใน B/L ในกรณีสินค้าซื้อขาย ในราคา F.B.O.

ในกรณีที่ไม่มี B/L เช่น ของนำเข้าทางรถไฟ ให้ใช้ใบส่งของหรือใบรับของการรถไฟแทนสำเนาบัญชีสินค้าเรือ (Manifest) กรณีลำเรือที่เข้ามาเป็นของนำเข้าเพื่อชำระภาษีอากรของ Overloaded ให้ใช้เลขที่ใบ Amended Overloaded แทน

บัญชีราคาสินค้า ( Invoice )
     คือ บัญชีแสดงรายการของสินค้าและราคาที่ซื้อขายกัน ซึ่งผู้ขายเป็นผู้จัดทำและส่งให้ผู้ซื้อโดยส่งผ่านธนาคารที่เปิด L/C
     บัญชีราคาสินค้าที่ผู้นำเข้ายื่นประกอบใบขนสินค้าขาเข้าจะต้องเป็นเอกสารที่แสดงราคาของนั้นโดยแท้จริง การยื่นบัญชีราคาสินค้าที่ไม่เป็นจริงเป็นความผิดตาม กม. ศุลกากร
* สำหรับการนำเข้าในท่ากรุงเทพฯ ผู้นำเข้าจะต้องยื่น Invoice 4 ฉบับ (ต้นฉบับ 1 สำเนา 3 )
 
    ถ้าผู้นำเข้ายื่น Invoice ที่มีลายมือชื่อด้วยการอัดพิมพ์ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 8/2506 ต้นฉบับจะต้องมีลายมือชื่อเซ็นด้วยหมึก ส่วนสำเนาผ่อนผันให้ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นด้วยหมึกอัดพิมพ์หรือประทับตราชื่อ

     บัญชีราคาสินค้าที่ไม่แสดงราคา C.I.F. ก็ให้เพิ่มราคาอีกร้อยละ 1 ถ้าขาดค่าประกันภัย (Insurance ) อย่างเดียวหรือร้อยละ 10 ถ้าขาดระวางบรรทุก ( Freight ) อย่างเดียวหรือร้อยละ 11 ถ้าไม่มีค่าประกันภัยและค่าระวางบรรทุก

    * บัญชีราคาสินค้าและเอกสารอย่างอื่นที่ผู้นำเข้ายื่นมานั้นต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นภาษาอื่นก็ต้องมีคำแปล และผู้ยื่นต้องลงนามรับรองว่า ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ

     อนึ่ง Invoice จะต้องผ่านธนาคารและผู้นำเข้าก็ต้องเขียนรับรองว่าเป็น Invoice ที่ถูกต้องและแท้จริง หรือ Certified True and Correct และประทับตราบริษัท เซ็นชื่อกำกับด้วย ส่วนสำเนาผ่อนผันให้ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นด้วยหมึก ด้วยอัดพิมพ์หรือประทับตรา

     Packing List, Weight List หรือ Attached Sheet คือ รายการการบรรจุหีบห่อว่าของแต่ละหีบห่อบรรจุอะไรบ้าง จำนวนและน้ำหนักเป็นเท่าใด ซึ่งอาจมีระบุอยู่ใน Invoice นั่นก็ได้ น้ำหนักใน Packing List จะแจ้งทั้ง Gross Weight และ Net Weight เป็นเอกสารประกอบ Invoice และให้แนบติดกับ Invoice ทุกชุด (ที่แนบในใบขนสินค้าและเอกสารอื่น)

รายการที่ต้องระบุใน  Invoice มีดังนี้ คือ



  1. ชื่อและที่ตั้งของบริษัทหรือโรงงาน ตลอดจนถึงประเทศกำเนิดของสินค้าที่ขาย 
  2. ชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ซื้อ หรือผู้นำเข้า
  3. ชื่อท่าหรือที่บรรทุกต้นทาง และท่าที่ทำการขนถ่ายปลายทาง
  4. ชื่ีอพาหนะที่บรรทุก
  5. ข้อความแสดงว่า ของนั้นได้ขายเสร็จเด็ดขาดหรือมีสัญญาซื้อขายหรือเป็นของส่งมาฝากขายหรือเป็นของส่งมายังห้างร้าน
  6. เครื่องหมายและเลขหมาย จำนวน และลักษณะหีบห่อ เช่น Case,Carton, Bundle 
  7. ปริมาณ และน้ำหนักเป็น ก.ก. หรือลิตร ตามมาตราเมตริกหรือมาตราประเพณีของประเทศที่ส่งของออกรวมทั้งหีบห่อและน้ำหนักสุทธิ
  8. รายละเอียดแห่งสินค้า หมายถึง ชนิดของและชื่อของแต่ละหน่วยชั้นหรือคุณภาพแห่งของเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์แห่งนั้น รวมทั้งเครื่องหมายการค้า ( Trade Mark) 
  9. กรณีที่เป็นของผสมหรือประกอบด้วยวัตถุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ให้สำแดงอัตราส่วนร้อยละของวัตถุที่ประกอบอยู่
  10. ราคาต่อหน่วย (Unit Price) ของสินค้าแต่ละชนิด แต่ละขนาดและราคารวมของชนิดและขนาดนั้นๆ และยอดรวมราคาของสินค้าทั้งหมด

    ระบุเงื่อนไขของการซื้อขาย เป็นต้นว่า ราคา CIF,  C&F หรือ F.O.B. คือ ราคาที่ยังไม่รวมค่า Freight และ Insurance แต่ค่า Inland Freight, Packing, Forwarding Fee ให้หมายความรวมเป็นค่า F.O.B. ระบุแสดงเงินตราต่างประเทศ
  11. ส่วนลด (ถ้าหากมี) ต้องจำแนกประเภทและอัตราจำนวนของส่วนลดลงให้ชัดเจน เช่น 10% Trade Discount 5% Cash Discount ส่วนลดที่จะยอมให้ลดได้นั้นจะต้องเป็นส่วนลดที่มีลักษณะเป็นการทั่วไป และเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าส่วนลดนั้นมีลักษณะเป็นการทั่วไป มิฉะนั้นจะมิลดให้
  12. ค่าใช้จ่ายต่างๆ
    - ค่าบรรจุหีบห่อ (ถ้ามี)
    - ค่าเบี้ยประกันภัย
    - ค่าระวางบรรทุก
    - ค่านายหน้า (ถ้ามี)
    - อื่นๆ
แม้จะมีการซื้อขายด้วยราคา C.I.F. หรือ C&F ก็ให้สำแดงจำแนกประเภทจำนวนค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแยกต่างหากจากกัน

การคำนวณราคาของที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กลับเป็นเงินบาทเท่านั้น ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ของนั้นนำเข้าในราชอาณาจักรตามที่กรมศุลกากรประกาศ

ถ้าใน Invoice มีค่าเงินตราต่างประเทศมากกว่า 1 สกุล ให้คำนวณเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนขั้นต้นทั้ง 2 สกุล และต้องเพิ่มราคาในส่วนที่สูงกว่าเพิ่มขึ้นด้วย ( Different Rate)

ของนำเข้าที่ไม่ต้องมี Invoice  (ไม่ต้องเรียก Invoice หรือ เอกสารอย่างอื่น)



  • ผู้นำเข้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้นำของเข้าเป็นการปกติทั้งของที่นำเข้า ก็มิได้มีปริมาณหรือราคามากมาย และมิได้นำเข้ามาเพื่อการค้า
  • ของตัวอย่างที่นำเข้ามาทางไปรษณีย์ ในหีบห่อและอัตราฝากส่งประเภทตัวอย่างสินค้า (Sample Post Package )
  • ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาทางการค้า
  • ของที่ปล่อยโดยมิต้องตรวจ


การแบ่งค่าขนส่ง ค่าประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

  • การสำแดงค่าใช้จ่าย จะรวมสำแดงรายการเดียวในพิกัดอัตราสูงสุดที่รายการสินค้าในใบขนนั้นพึงต้องเสียก็ได้
  • ให้แบ่งค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสินค้าตามที่รายการสินค้านั้นๆ ต้องเสียจริง เช่น เสียค่าใช้จ่ายตามน้ำหนักของๆนั้น การแบ่งค่าใช้จ่ายก็ต้องแยกออกตามส่วนน้ำหนักของแต่ละรายการในใบขนสินค้านั้น
  • ถ้าไม่สามารถที่จะแบ่งหรือปฏิบัติดังกล่าวได้ให้แบ่งค่าใช้จ่ายตามส่วนของราคาสินค้าแต่ละรายการในใบขนสินค้านั้น
  • ในกรณีที่ใบขนสินค้ามีมากกว่า 1 รายการ แต่อัตราอากรที่เรียกเก็บเท่ากันทุกรายการ จะสำแดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือแยกแต่ละรายการก็ได้












 

Annrora's Brains Template by Ipietoon Blogger Template | Gadget Review