พิธีการศุลกากรสำหรับของนำเข้าหรือของส่งออกทางไปรษณีย์

เขียนโดย Annrora ที่ 02:28
     ด่านศุลกากรไปรษณีย์ ( ณ กรุงเทพ ) มีที่ทำการอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง แบ่งหน่วยงานออกเป็น
  1. งานธุรการ
  2. ฝ่ายตรวจคัดเลือกไปรษณีย์
  3. ฝ่ายเก็บรักษาไปรษณีย์ภัณฑ์
  4. ฝ่ายพิธีการ
  5. ฝ่ายตรวจปล่อยไปรษณีย์
     กรมศุลกากรต้องทำความตกลงกับกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อกำหนดที่ทำการไปรษณีย์บางแห่งให้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เพื่อแลกเปลี่ยนถุงไปรษณีย์ภัณฑ์และเรียกเก็บภาษีอากรจากผู้รับแทนศุลกากรในบางกรณี โดยได้จัดเจ้าหน้าที่จากด่านศุลกากรที่เกี่ยวข้องไปประจำการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
  1. ด่านศุลกากรไปรษณีย์ ประจำที่ทำการไปรษณีย์กลาง 
  2. ด่านศุลกากรสงขลา ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขสงขลาและหาดใหญ่
  3. ด่านศุลกากรภูเก็ต ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขภูเก็ต
  4. ด่านศุลกากรหนองคาย ประจำที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหนองคาย
  5. ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ประจำที่ทำการไปรษณีย์สุไหงโก-ลก
พิธีการศุลกากรขาออกทางไปรษณีย์
     พนักงานศุลกากรจะนัดหมายเวลากับเจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อร่วมกันทำการเปิดถุงไปรษณีย์ต่างประเทศทุกชนิด เมื่อลงบัญชีกำกับเรียบร้อยแล้ว จะต้องแยกถุงไปรษณีย์ออกเป็น 3 ประเภม ดังนี้...
  • ประเภทที่ 1 : ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่ไม่ต้องเสียอากร 
         เช่น เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งเจ้าของได้เดินทางมาแล้วหรือเป็นของที่มีราคาแต่ละหีบห่อไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งจดหมายและไปรษณีย์บัตรเมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ลงบัญชีเป็นหลักฐานไว้เรียบร้อยแล้วจะมอบคืนให้เจ้าพนักงานไปรษณีย์รับไปจ่ายได้ทันที
  • ประเภทที่ 2 : ไปรษณีย์ภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่ไม่ต้องเสียอากรและราคาไม่เกิน 10,000 บาท ที่ไม่จัดเป็นสินค้าก็ดีหรือที่จัดเป็นสินค้าแต่ราคาไม่เกิน 500 บาท
         ศุลกากรถือว่าเป็นของเล็กน้อย อาจประเมินอากรจากใบปริญญาได้โดยไม่ต้องเปิดตรวจ หรือจะเปิดตรวจประเมินอากรก็ได้แล้วแต่เห็นสมควร เจ้าหน้าที่จะบันทึกรายการสิ่งของ จำนวนเงินอากรและค่าเก็บรักษา (ถ้าต้องเสีย)ลงไว้ในช่องรายการตรวจและประเมินอากรในใบแจ้งความพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์ ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของกรมไปรษณีย์ชุดละ 3 ฉบับ (ทางศุลกากรจะยึดฉบับที่ 2 ไว้ ส่วนฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นต้นฉบับกับสำเนาฉบับที่ 3 จะมอบให้เจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขพร้อมหีบห่อของเพื่อจัดส่งไปยังผู้รับปลายทางและเรียกเก็บภาษีอากรแทนศุลกากรด้วย ของประเภทนี้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า แต่อนุโลมเป็นการจัดเก็บอากรปากระวางตามใบเสร็จแจ้งความ ผู้รับอาจโต้แย้งราคาประเมินของศุลกากรได้ โดยทำเรื่องราวยื่นต่อพนักงานไปรษณีย์เพื่อส่งต่อไปให้พนักงานศุลกากรผู้ประเมินพิจารณา หรือถ้าไม่ประสงค์จะรับก็ให้บันทึกและลงชื่อเป็นหลักฐานบนหีบห่อหรือซอง เพื่อจะได้ส่งคืนต้นทางต่อไป
  • ประเภทที่ 3 : ไปรษณีย์ภัณฑ์ที่จัดเป็นสินค้า ราคาเกินกว่า 10,000 บาท หรือเป็นของที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อจำกัดของกฏหมาย
         
    จะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าเดียวกับการนำเข้าทางเรือ
         ในกรณีที่ผู้รับอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งไม่สะดวกต่อการจัดทำใบขนสินค้า ด่านศุลกากรไปรษณีย์จะทำหนังสือแจ้งไปยังผู้รับว่าจะมารับได้เอง หรือมอบฉันทะให้ผู้ใดดำเนินการ หรือให้ส่งไปยังด่านศุลกากรใดที่ใกล้ที่สุด ในกรณีที่ผู้รับขอให้ส่งไปทำการตรวจปล่อยที่ด่านศุลกากรใด ด่านศุลกากรไปรษณีย์จะปิดกระดาษป้ายสีขาว แบบที่ 21 ความว่า "กองต้องเสียภาษีส่งด่านศุลกากร" ไว้ที่หีบห่อ และทำบัญชีส่งมอบให้เจ้าพนักงานไปรษณีย์รับส่งในด่านศุลกากรต่อไป
* พนักงานเจ้าหน้าที่อาจตรวจห่อพัสดุไปรษณีย์ที่เข้ามาหรือออกไปจากพระราชอาณาจักรได้ และถ้ามีความสงสัยอาจกักห่อจดหมายใดๆไว้ ณ ศุลกสถานได้ จนกว่าผู้ส่งหรือผู้มีชื่อจะรับ จะได้กระทำให้เป็นที่พอใจว่า ไม่มีของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามในห่อนั้น การที่ศุลกากรจะตรวจห่อไปรษณีย์นั้นจะกระทำ ณ ที่ทำการไปรษณีย์หรือที่ศุลกสถานก็ได้

ความรับผิดชอบและโทษเกี่ยวกับของที่นำเข้าหรือที่ส่งออกทางไปรษณีย์
     ตกอยู่แก่บุคคล 4 ประเภทด้วยกัน คือ
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับของนำเข้าได้แก่
    1. ผู้มีชื่อที่จะรับของอันนำเข้ามา และ
    2. ผู้รับของ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
  • ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออก ได้แก่
     3. ผู้ส่งของอันจะส่งออกไป และ
     4. ผู้นำของส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์
บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่จะได้ร่วมมือด้วยประการต่างๆกับบุคคลดังกล่าวมาแล้ว

ของตกค้างให้ส่งกลับไปยังต้นทาง
     ไปรษณีย์ภัณฑ์ ( Postal Package ) และพัสดุไปรษณีย์ ( Parcel Post Package )  ที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรถึง 2 เดือนจนกลายเป็นของตกค้าง ให้ส่งกลับไปยังต้นทาง (ไม่ให้ใช้ ม. 61 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร 2469 มาใช้บังคับ ) ศุลกากรยึดได้เฉพาะของอันพึงต้องรับตามกฏหมายศุลกากร และของที่ผู้นำเข้าได้ยื่นใบขอเปิดตรวจเท่านั้น

วันเปิดถุงไปรษณีย์ให้ถือเป็นวันรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี
    ในทางปฏิบัติถือว่าวันเปิดถุงไปรษณีย์เป็นวันรับผิดในอันจะต้องเสียอากรและให้ถือสภาพของราคาของ และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันนั้นเป็นเกินประเมินค่าภาษีอากร เพราะไม่อาจปฏิบัติตาม ม. 10 ทวิแห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรได้จึงเท่ากับเป็นข้อยกเว้นของ ม.10 ทวิ โดยปริยาย มีข้อยุ่งยากเรื่องการถือวันนำเข้า
 

Annrora's Brains Template by Ipietoon Blogger Template | Gadget Review